ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะกินคาร์โบไฮเดรตได้เพียง วันละ150 ถึง 200 กรัม สุดแต่การทํางานหนักเบาและ ประกอบด้วย อายุกับเหตุอื่น ๆ ซึ่งนายแพทย์จะเป็นผู้กําหนดให้แต่ละคน ฉะนั้นจึงควรงดการกินข้าวสุก ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรต 31.6 % แล้วกินถั่วฝักยาวซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตเพียง 6.6 % แทน มีพืชอย่างอื่นที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า เช่น แตงกวา, พักเขียว, บวบเหลี่ยม, น้ำเต้า, เห็ด, ผักบุ้ง, แตงไทยอ่อน, ใบผักกาดหอม, หัวผักกาด, หัวปลี, มะเขือยาว เป็นต้น แต่พืชเหล่านี้บางอย่างไม่มีตลอดปี หรือมีเพียงบางท้องถิ่น และ ราคาสูง แต่ถั่วฝักยาวจะมีให้ใช้ตลอดปี มีทุกท้องที่ ในราคาพอสมควร จึงเลือกถั่วฝักยาวต้มแทน “ข้าวสุก” ลงมือกินกับอาหารผัด, แกงจืด, แกงเผ็ด, พล่า, ยํา, น้ำพริก ฯลฯ ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะอาหารนั้นได้ทุกอย่าง ฉะนั้นจึงจําเป็นจะต้องจัดต้มถั่วฝักยาวให้มีรสดี แล้วหั่นละเอียดขนาดเท่าที่เขาหั่นทำในขนมจีนน้ำยา จะทำให้กินได้อย่างปกติโดยไม่ระลึกถึงข้าวสุก
ถั่วฝักยาวต้ม
เลือกซื้อถั่วฝักยาวชนิดอ่อน ๆ สีเขียวสด ไม่ใช่ชนิดผักใหญ่ พอง สีขาว ซึ่งกินไม่อร่อยเท่า
วิธีปรุง มือหนึ่งประมาณ หนัก 400 ถึง 500 กรัม เด็ดหัวท้าย ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 6 นิ้วฟุต ใช้หม้ออลูมิเนียมปากกว้าง 22 เซ็นต์ ใส่น้ำลงไปราวครึ่งหม้อ ยกตั้งบนเตา ใส่เกลือเม็ด หนักราว 40 กรัม (ขนาดเท่าไข่ไก่) แล้วรีบหาน้ำเย็นธรรมดา ประมาณเท่า ๆ ที่ใส่หม้อ ใส่ขันใหญ่หรือชามเตรียมไว้ พอน้ำเดือดเอาถั่วใส่ทั้งหมดทันที ปิดฝา ประมาณ 7 นาที จึงเปิดฝา ใช้ช้อนใหญ่หรือทัพพีกลับถั่วในหม้อให้ข้างบนลงข้างล่าง แล้วปิดฝาให้เดือดต่อไปพอครบ 12 นาที (นับแต่เอาถั่วใส่หม้อ) ยกหม้อลง รินน้ำในหม้อออกให้หมด แล้วปิดฝาหม้อเอาน้ำเปล่าที่เตรียมไว้เทใส่ลงไปทันที่ทั้งหมด ใช้ทัพพีหรือมือก็ได้กลับถั่วในหม้อสัก ๒ ครั้ง แล้วรีบในน้ำทิ้งทันที
เพื่อให้ผิวถั่วซึ่งกำลังร้อนอยู่นั้นถูกน้ำเย็นฉาบผิว ก็จะทำให้ผิวถั่วแข็งแต่ข้างในอ่อน และสีของผิวจะเขียวน่ากิน ทิ้งไว้ให้เย็นจับเรียงให้หัวเสมอกันครั้งละพอกํามือ หันขวางเป็นชิ้นเล็กใส่จานพร้อมที่จะกินกับอาหารต่าง ๆ
* ความสําคัญ คือเลือกลักษณะของถั่ว, ใส่เกลือ, ระยะเวลาที่ต้ม (ถ้าชอบแข็งก็ไม่ถึง 12 นาที ถ้าชอบอ่อนก็เลย 12 นาที), เทน้ำเดือดออก เอาน้ำเย็นใส่ทันที และรีบรินน้ำทิ้งให้หมด รสของถั่วจะหวาน มีประโยชน์ตรงมีคาร์โบไฮเดรตน้อย และยังมีโปรตีนในถั่ว