โรคสมองในผู้สูงอายุที่พบบ่อยๆ คือ โรคปวดศีรษะ, โรคเวียนศีรษะ, โรคทางหู, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง กับ โรคสมองเสื่อม เท่านั้น
โรคหลอดเลือดสมอง
เป็นโรคที่อันตรายมาก ซึ่งอาจเป็น เส้นเลือดสมอง-อุดตัน หรือ เส้นเลือดสมองแตก อาการของโรคคือ ปวดศีรษะรุนแรง, แขนขาอ่อน, พูดไม่ชัด, พูดไม่ได้, การทรงตัวเสียไป, มีอาการชา, อาจไม่รู้สึกตัว หรือ
หมดสติ ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ หรือถ้ามีอาการเหล่านี้เพียง 20 นาที หรือเพียงครึ่งวัน
แล้วหาย ก็แสดงว่ามีอาการของโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ถือว่า เป็นเรื่องเร่งด่วน ต้องรีบไปพบแพทย์เช่นกัน เพื่อแพทย์จะได้ตรวจและรักษาให้ต่อไป
โรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์)
เป็นโรคที่พบเป็นกันมากพอสมควร คือ ในสหรัฐอเมริกามีคนเป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 4 ล้านคน ในประเทศไทย พบคนเป็นโรคสมองเสื่อม 2 – 4% ของคนอายุมากกว่า 60 ปี ถ้าแยกตามอายุพบว่า คนอายุน้อยกว่า 65 ปี พบ 1%, คนอายุ 65 – 70 ปี พบ 1.4%, คนอายุ 70 – 80 ปี พบ 4%, คนอายุ 80 ปีขึ้นไปพบ 20% และพบหญิงเป็นมากกว่าชาย นับว่าเป็นสถิติที่น่าเป็นห่วงพอสมควร
อาการของโรคสมองเสื่อมที่เด่นที่สุดและมักเกิดขึ้นก่อนคือ อาการหลงลืมที่ค่อยๆเป็นมากขึ้นทีละเล็ก
ละน้อย มีการสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้และจดจำสิ่งใหม่ๆ อาการที่ปรากฏมักจะเป็นในลักษณะ
การวางของผิดที่จำเหตุการณ์วันต่อวันไม่ได้ ลืมวันนัดหมาย มีการถามคำถามซ้ำๆหรือจำสิ่งที่เพิ่งพูดจบไม่ได้
แต่ความจำในอดีตในสมัยเด็กหรือในสมัยหนุ่มสาวมักจะยังดีอยู่หรือเสียเพียงเล็กน้อย ในระยะต่อมาก็จะ
สูญเสียความทรงจำในอดีตไปด้วยเมื่อมีอาการมากขึ้น
เมื่อความทรงจำเสียมากขึ้นจะมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการพูดรวมถึงการเขียน อาการในระยะแรก
การพูดจะตะกุกตะกัก เนื่องจากนึกคำพูดคำศัพท์ได้ในวงจำกัด พูดในรูปแบบโครงสร้างประโยคเดิมๆ แต่ความเข้าใจในการสื่อสารยังดีอยู่ในระยะท้ายๆ จะพูดไม่เต็มประโยค มีการพูดทวนซ้ำคำ หรือประโยค
ของผู้อื่น เรียกชื่อสิ่งของไม่ได้ พูดคำที่ไม่มีความหมาย จนในที่สุดจะไม่สามารถพูดได้เลย และสูญเสีย
ความเข้าใจภาษาและการคำนวณ
ความผิดปกติที่พบได้อีกด้านหนึ่งในระยะแรกคือผู้ป่วยจะมีอาการหลงทิศทางจากสิ่งแวดล้อมที่เห็น
คุ้นเคย ไม่สามารถจอดรถในที่จอดได้ ขับรถหรือเดินกลับบ้านผิดทาง และหลงทางในที่สุด ใช้แผนที่ไม่เป็น และจะเป็นมากขึ้นจนไม่สามารถวาดรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆได้เพราะเสียความสามารถในการรับรู้ความ
สัมพันธ์ของทิศทาง และระยะทาง ในระยะท้ายผู้ป่วยจะลืมวิธีการใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น ภาชนะอาหาร การใช้มีดโกนหนวด ไม่สามารถทำตามสั่งหรือทำเลียนแบบได้ เช่น ให้ทำท่าการแปรงฟันโดยไม่มีอุปกรณ์
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และบุคลิกภาพมักจะปรากฏหลังจากมีอาการผิดปกติของความจำและ
ภาษา จะมีลักษณะกระวนกระวายหรือเฉื่อยชามีความวิตกกังวลและความกลัวโดยเฉพาะกลัวการถูกทอดทิ้ง หรืออยู่คนเดียว ผู้ป่วยจะไม่สนใจตนเอง ไม่อาบน้ำ ไม่สนใจในการแต่งกาย และเกิดภาวะอารมณ์ซึมเศร้า ซึ่งพบได้บ่อยอันเป็นผลโดยตรงจากการเสื่อมของสมอง อาการทางจิตประสาทที่มีอาการหูแว่วเห็นภาพหลอน และอาการหลงผิดหวาดระแวงก็พบได้บ่อย ผู้ป่วยอาจหวาดระแวงขโมยหรือสามีภรรยาของตนในเรื่องทาง
เพศบางรายมีพฤติกรรมก้าวร้าวทั้งทางพูดและการกระทำมีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสมจนนำไปสู่ปัญหา
ครอบครัวได้
ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวจะปรากฏในระยะท้ายของโรคมีการเคลื่อนไหวช้าและลำบากโดยที่
ไม่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนและขาจะงอเกร็ง จนไม่สามารถเดินหรือยืนได้ต้องนอนอยู่บนเตียง มีปัญหาใน
การกลั้นอุจจาระปัสสาวะ ปัญหาในการกลืนอาหารทำให้น้ำหนักลดและสำลักอาหารได้
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีอาการแตกต่างกันมากและอาการไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับขั้นตอนที่กล่าวมา
อาการแรกที่มาพบแพทย์อาจมาด้วยอาการเหล่านี้ ก่อนที่จะมีอาการด้านอื่นๆ ตามมาเช่น การเดินผิดปกติ ความจำในระยะยาวเสียไปก่อนสูญเสียการรับรู้ความสัมพันธ์ของทิศทางและระยะทางมีบุคลิกภาพ
เปลี่ยนแปลงและมีอาการหวาดระแวง หรือไม่สามารถเรียกชื่อสิ่งของได้
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ การรักษาหลักจึงเป็นการรักษาอาการความร่วมมือของญาติ ผู้ดูแลและแพทย์ จึงเป็นส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วย เพื่อลดภาวะอารมณ์ซึมเศร้า ความวิตกกังวล พฤติกรรมก้าวร้าวและปัญหาอื่นๆ
อ่านเรื่องนี้แล้วคงจะใช้สังเกตตัวเองว่าตัวเองเริ่มมีอาการข้างต้นนี้ บ้างหรือยังหรือถ้าตัวเองมีอาการ
เหล่านี้จะได้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน อย่างไรก็ตามการป้องกันโรคเหล่านี้จะทำได้โดย
1. การควบคุมเรื่องอาหาร
2. หมั่นออกกำลังกาย และ
3. ทำจิตใจให้รื่นเริงแจ่มใส ไม่วิตกกังวล ไม่คิดฟุ้งซ่าน ซึ่งจะทำไดด้วยการทำสมาธิยิ่งดี ถ้าผู้สูงอายุทำได้ทั้ง 3 เรื่องนี้จะป้องกันโรคเหล่านี้ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อย่างแน่นอนครับ