โขน

การฝึกหัดโขน

ผู้ที่จะหัดโขนนั้นมักเป็นผู้ชายตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ โดยเริ่มหัดกันตั้งแต่อายุ ๘ -๑๒ ขวบ ในชั้นต้นครูผู้ใหญ่จะพิจารณาคัดเลือกออกเป็น ๔ พวก คือ

๑. ตัวพระ คัดเลือกผู้มีลักษณะใบหน้าสวย จมูกเป็นสัน ลำคอโปร่งระหง ไหล่ลาดงาม ช่วงอกใหญ่ ลำตัวเรียว เอวเล็ก ตามแบบชายงามในวรรณคดีไทย
๒. ตัวนาง เลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ต้องมีใบหน้างาม กิริยาท่าทางนุ่มนวลอย่างผู้หญิง
๓. ตัวยักษ์ เลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ไม่ต้องเลือกหน้าตา รูปร่างต้องใหญ่ และท่าทางแข็งแรง
๔. ตัวลิง เลือกผู้ที่มีลักษณะป้อมๆ ท่าทางหลุกหลิกคล่องแคล่วว่องไว

เมื่อผู้ที่หัดเป็นตัวเหล่านี้ไปแล้ว ครูก็จะพิจารณาท่าทีหน่วยก้านเพื่อคัดอีกชั้นหนึ่ง เช่น พวกหัดตัวพระคัดให้เป็นพระใหญ่หรือพระน้อย พวกหัดตัวนางคัดให้เป็นนางเอก หรือนางรอง พวกหัดตัวยักษ์ให้เป็นยักษ์ใหญ่ ยักษ์เล็ก หรือเสนายักษ์ และพวกหัดตัวลิงจะให้เป็นพญาวานร หรือเหล่าวานรสิบแปดมงกุฎ เป็นต้น หลังจากครูคัดเลือกศิษย์แล้ว เมื่อถึงวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครู ก็จะทำพิธีไหว้ครู และรับเข้าเป็นศิษย์ โดยศิษย์ต้องมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะแก่ครู เมื่อครูรับการสักการะแล้วก็จะทำความเคารพถึงครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้วอีกทีหนึ่ง แล้วจึงจับท่าให้ศิษย์เป็นปฐมฤกษ์ ต่อจากนั้นจึงให้ศิษย์ไปฝึกหัดกับครูผู้ช่วยสอนแต่ละฝ่ายตามตัวโขน

การฝึกหัดขั้นพื้นฐาน

๑. ตบเข่า

๒. ถองสะเอว

๓. เต้นเสา

๔. ถีบเหลี่ยม

๕. ฉีกขา

๖. หกคะเมน

ท่าหกคะเมนนี้มี ๓ อย่างคือ
๑. หกคะเมนหงายไปข้างหน้า (ตีลังกาหกม้วน)
๒. หกคะเมนไปข้างหน้า (อันธพา)
๓. หกคะเมนหมุนไปด้านข้าง (พาสุริน)

เมื่อผ่านการฝึกท่าพื้นฐานแล้ว พวกหัดตัวลิงตัวยักษ์จึงฝึก “แม่ท่า” พวกตัวพระตัวนางก็ฝึก “รำเพลง” แล้วหัดท่าพลิกแพลงที่เรียกว่า สร้อยท่า” ตามแต่ตัวโขน จากนั้นจึงหัดเต้น และรำตามจังหวะดนตรีต่อไป

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.