ยา

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

จากการสํารวจปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลทั่วประเทศ พบว่าในปี พ.ศ. 2539 มีการใช้ยาปฏิชีวนะคิดเป็น ร้อยละ 32 ของมูลค่าจ่ายยา เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกวันนี้คนเรามี การช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่จําเป็น โดยบางท่าน อาจลืมคิดไปว่ายาปฏิชีวนะนั้น นอกจากจะให้คุณแล้วยังอาจ เป็นโทษ โดยก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ยาอีกด้วย นอกจากนี้ยัง ทําให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่จําเป็น

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หมายถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย เป็นยาที่พบว่ามีการใช้บ่อยมากใน การรักษาอาการต่างๆ ของโรคและมักมีผู้ใช้ยานี้ในทางที่ไม่เหมาะสม ก่อนที่จะใช้ยาจึงควรแน่ใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อที่เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย เพราะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนั้น แม้อาจทําให้ เกิดอาการได้เช่นเดียวกัน การใช้ยาปฏิชีวนะจะไม่ได้ผล

ยาปฏิชีวนะ ที่ใช้ค่อนข้างแพร่หลายในรูปของยารับประทานได้แก่ เพนิซิลลิน เตตร้าซัยคลิน และคลอแรมเฟนิคอล

เพนิซิลลิน ที่ใช้กันมากได้แก่เพนิซิลลินวี และแอมพิซิลลิน ยากลุ่มนี้ทําให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ถ้าเป็นยาฉีดอาจเกิดอาการแพ้ รุนแรงถึงตายได้

เตตร้าซัยคลิน รู้จักกันดีคือ เตตร้าซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ ไม่ควรใช้ยานี้ในกลุ่มเด็กอายุต่ํากว่า 6 ปี และสตรีมีครรภ์ และ ควรหลีกเลี่ยงการกินยากลุ่มนี้กับนมหรือยาลดกรด

คลอแรมเฟนิคอล เป็นยาที่ใช้สําหรับการติดเชื้อในทางเดิน อาหาร เฉพาะโรคไข้ไทฟอยด์ และไข้รากสาด บางคนนําไปใช้ในทางที่ผิด โดยใช้เป็นยาลดไข้สําหรับเด็ก ทําให้เกิดอันตรายถึงชีวิต และยังกดการทํางานของไขกระดูกทําให้โลหิตจาง

อันตรายที่พบได้บ่อยในการใช้ยาปฏิชีวนะ คือ การแพ้ยา ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยกว่ากลุ่มยาอื่น ๆ โดยเฉพาะยาเพนิซิลลิน พบว่า มีผู้แพ้ยานี้มาก การแพ้ยาเกิดขึ้นเฉพาะบางคน อาการแพ้ยา แต่ละชนิดจะรุนแรงมากน้อยต่างกัน บางครั้งถ้ามีอาการแพ้รุนแรง อาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าท่านทราบว่าตัวเองแพ้ยาอะไรแล้ว ก็ควรที่จะ จําไว้หรือบอกคนใกล้ชิดให้ทราบด้วย การไปพบแพทย์ทุกครั้งควร บอกแพทย์ที่รักษาให้ทราบด้วยว่าท่านแพ้ยาอะไร

การใช้ยาปฏิชีวนะต้องใช้ให้ครบขนาดรักษา เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการรักษาโรค และป้องกันมิให้เชื้อโรคดื้อยา เพราะ ถ้าเชื้อโรคเกิดดื้อยา การใช้ยาชนิดเดิมจะไม่ได้ผล ต้องเปลี่ยนไปให้ ยาตัวอื่นที่มีฤทธิ์ในการรักษาสูงขึ้นแทน ทางปฏิบัติที่ถูกต้องคือ ต้องกินให้ครบตามที่แพทย์สั่งถึง แม้ว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม และ ไม่ควรซื้อกินเองอย่างพร่ําเพรื่อ

วิธีดูฉลากยา ยาที่ผลิต และวันหมดอายุ

วันผลิต มักจะใช้คําย่อเป็นภาษาอังกฤษ MFG. DATE หรือ MFG. ซึ่งย่อมาจาก MANUFACTURING DATE แปลว่า วันที่ผลิต ตัวอย่างเช่น

– MFG 16-8-1995 หมายถึงยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 16 เดือน สิงหาคม 2538
– MFG 8-1995 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อเดือนสิงหาคม 2538

โดยทั่วไปจะถือว่ายาที่ผลิตเกินกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ ถึงแม้ว่า ยานั้นยังคงดูว่ามีสภาพดีอยู่ก็ตาม

วันหมดอายุ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ วัคซีน และเซรุ่ม ซึ่งตาม กฎหมายระบุให้ต้องแสดงวันหมดอายุไว้ที่ฉลาก การแสดงวันหมด อายุมักจะใช้คําย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า EXP.DATE หรือ EXP. ซึ่งย่อมาจาก EXPIRY DATE หรือ EXPIRATION DATE หรืออาจใช้คําว่า USE BEFORE 12/94 หมายถึงยานี้หมดอายุ เดือนธันวาคม 2537

ท่านคงจะทราบกันแล้วว่ายาปฏิชีวนะนั้นมีทั้งคุณและโทษ ดังนั้นก่อนที่ท่านจะใช้ยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ยาเป็นไปอย่างถูกต้อง สามารถ รักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยต่อตัว ท่านเอง
“เลือกยาให้ถูกโรค เก็บรักษาให้ถูกที ใช้ยาให้ถูกวิธี ดูให้ดีวันหมดอายุ”
วัชรี เปาจีน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.