การให้นมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะนมแม่มีความปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด และยังให้ความอบอุ่นแก่ลูก แต่บางครั้งคุณแม่บางท่านอาจมีความจำเป็นไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองได้ เพราะปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กหรือคุณแม่กินยาบางอย่างที่สามารถผ่านมาทางน้ำนมได้เมื่อเป็นเช่นนี้คุณแม่ท่านนั้นจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแทน
สิ่งที่ควรทราบก่อนการใช้นมผสมแก่ลูก
- เลือกชนิดของนมให้ถูกต้องตามอายุของเด็ก
- ชงให้ถูกส่วนโดยดูตามคำแนะนำข้างกระป๋อง
- คำนึงถึงความสะอาดของอุปกรณ์ในการชงนมควรล้างให้สะอาดและต้มในน้ำเดือด 10 นาที
- ไม่ควรชงนมทิ้งไว้นานเกินไป หากลูกไม่ดูดให้เททิ้งไม่ควรนำมาให้กินอีกในมื้อต่อไป
- เวลาให้นมลูกควรอุ้มลูกไว้ในอ้อมแขนทุกครั้ง
- ไม่ควรปิดจุกนมแน่นเกินไป ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปแทนที่น้ำนมในขวดได้ เวลาดูดน้ำนม
จะไม่ค่อยไหล ทำให้เด็กหงุดหงิดอารมณ์เสียได้ง่าย - จับขวดนมให้แน่นและเอียงให้พอเหมาะ เพื่อให้มีน้ำนมในจุกขวดตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้
อากาศเข้าท้องลูก ระหว่างให้นมควรหยุดพักสัก 1-2 ครั้ง เพื่อไล่ลมให้ลูกเป็นระยะ
วิธีชงนม
- ต้มขวดนมและจุกนมในน้ำเดือดประมาณ 10 นาที
- ใส่น้ำสุกอุ่นๆตามปริมาณที่ถูกต้องลงในขวดนม อย่าใช้น้ำร้อนจัดชง
เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินบางส่วนไป - ตวงนมผงตามมาตราส่วนข้างกระป๋องด้วยช้อนตวงที่บรรจุมากับกระป๋อง
ปาดให้เรียบด้วยมีดที่สะอาด - ใส่นมผงลงแล้วเขย่าขวดเล็กน้อยเพื่อให้นมผงละลายได้หมด พยายามอย่าเขย่าให้เกิดฟอง
มากเกินไปโดยการจับขวดนมแล้วหมุนมือเป็นวงกลมเหมือนเอาขวดนมแกว่งในน้ำ จะเกิด
ฟองน้อยกว่าการเขย่าขึ้นลง - ก่อนให้นมลูก ทดลองหยดน้ำนมลงบนหลังมือเพื่อทดสอบว่าอุ่นพอเหมาะ ไม่ร้อนจัด
วิธีไล่ลม
- อุ้มลูกนั่งตัก ให้นั่งตัวตรงเอามือรองใต้คางลูกไว้อีกมือลูบเบาๆที่ห้าท้องบริเวณกระเพาะหรือตบเบาๆ
ลูกจะเรอและผายลมออกมา - อุ้มลูกพาดไหล่ ให้คางลูกเกยบนไหล่ของคุณแม่พอดี เวลาลูกอยู่ในท่านี้ลมจะลอยขึ้นมา คุณแม่เพียง
ตบหลังเบาๆลูกก็จะเรอออกมาโดยง่าย
ปัญหาที่อาจพบหลังการให้นม
- แหวะนม เด็กทุกคนมักจะแหวะนมเวลาเรอ ส่วนมากมักจะแหวะนมออกมาเพียงนิดเดียวซึ่งถือว่าไม่ผิด
ปกติแต่อย่างใด แต่ถ้าแหวะออกมามากควรหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร เช่น ดูดนมมากเกินไป แม่อุ้ม
ลูกนอนราบไปในขณะให้นมลูก อุ้มลูกแบบเขย่าหรือโยน ลูกร้องมากไป เป็นต้น - สะอึก เป็นอาการปกติที่มักเกิดหลังจากเด็กดูดนมเสร็จแล้ว สักพักก็จะหายไปเอง คุณแม่อาจจะให้ลูกดูดน้ำ
สักเล็กน้อยอาการก็จะดีขึ้น - อาเจียน ถ้าลูกอาเจียนหลังจากดูดนมตามปกตินมที่ออกมาจะเป็นก้อนสีขาว แต่ถ้าอาเจียนมีกลิ่นเปรี้ยวๆ
เพราะผสมกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร อาจเป็นเพราะลูกกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารหรือ
อาจเริ่มไม่สบายต้องคอยดูแลอาการต่อไป - ท้องอืด แน่นท้อง อาจเกิดจากกินมากเกินไปหรือมีลมเข้าท้องขณะดูดนม ควรใช้การไล่ลมช่วยทุกครั้ง
- ท้องผูก เด็กบางคนไม่ถ่ายทุกวัน แต่ถ้าเด็กถ่าย 2-3 วันครั้งหรือไม่ยอมถ่ายหรือถ่ายเป็นก้อนแข็งๆ
ควรให้ลูกดูดน้ำหรือน้ำผลไมที่สะอาดเพิ่มขึ้น เช่น น้ำส้มคั้น ไม่ควรสวมทวารหรือให้ยาระบายแก่ลูก
โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน - ท้องเสีย ถ้าลูกมีอาการท้องเสียเล็กน้อยอาจผสมนมให้จางลงจนกว่าอาการท้องเสียจะทุเลา การผสม
นมให้จางลงทำได้โดยการเพิ่มน้ำอีกเท่าตัวหรือลดนมผงลงครึ่งหนึ่งโดยใช้น้ำเท่าเดิม เช่น เคยผสมนม
2 ช้อนต่อน้ำ 2 ออนซ์ ก็เปลี่ยนเป็นนม 1 ช้อนต่อน้ำ 2 ออนซ์ เป็นต้น แต่ถ้าลูกถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือน้ำ
บ่อยครั้ง ควรหยุดให้นมหยุดให้อาหารชนิดที่มีกากมากๆ เช่นน้ำผลไม้ ให้ลูกดูดน้ำอุ่นๆและรีบไปพบแพทย์