เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ที่สุดของความปรารถนาของผู้เป็นพ่อเป็นแม่คือลูกที่แข็งแรง สมบูรณ์เมื่อแรกคลอด และมีสติปัญญาฉลาดเฉลียว ซึ่งความ ปรารถนาเหล่านี้ ล้วนเป็นจริงได้ถ้าดูแลเอาใจใส่และพัฒนาลูกตั้งแต่เมื่ออยู่ในครรภ์
ปัจจัยกำหนดสติปัญญาลูกน้อยประกอบด้วย
1. กรรมพันธุ์ | กรรมพันธุ์มีส่วนสำคัญในการกำหนดสติปัญญาความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ลูกที่มาจากพ่อแม่ที่มีความถนัด ความสามารถทางด้านใดด้านหนึ่ง ย่อมมีโอกาสที่จะมีความ สามารถในทางนั้นเช่นกัน โดยมียีนในตัวเซลล์สมองที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด |
2. อาหาร | อาหารมีความจำเป็นอย่าางยิ่งต่อการพัฒนาทั้งร่างกายและสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ๆ ของการ ตั้งครรภ์ที่ร่างกายและสมองของทารกในครรภ์เติบโตไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องได้สารอาหารที่เพียงพอ มีคุณค่าและไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ |
3. สิ่งแวดล้อม | สิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในล้วนส่งผลถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ดี ได้แก่ สภาพอากาศที่บริสุทธิ์ สะอาด สงบ สบาย การกระตุ้นพูดคุย สัมผัสที่อ่อนโยน นุ่มนวล สิ่งแวดล้อม ที่ไม่ดี เช่น ฝุ่น ละออง มลพิษ เชื้อโรค เสียงที่ดังผิดปกติ |
พัฒนาการของทารกในแต่ละเดือน
ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนของการพัฒนาในครรภ์ ควรทราบได้ถึงพัฒนาการ การเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ก่อน เพื่อจะได้ดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะในช่วงแต่ละเดือน ลูกมีการเติบโต มีการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญไม่เหมือนกัน
เดือนที่ 1 (หลังจากปฏิสนธิ- |
ลูกน้อยในครรภ์อายุ 1 เดือน จะเริ่มก่อร่างสร้างอวัยวะแล้ว คือ 2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิจะเริ่มปรากฏตำแหน่ง ที่จะพัฒนาไปเป็นส่วนหลังและ ไขสันหลัง ปลายสัปดาห์ที่ 3 หัวใจเริ่มเต้น ลูกน้อยอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนาอวัยวะ สำคัญทั้งหมด จึงเป็นช่วงที่ต้องดูแลร่างกายอย่างดีที่สุด ทั้งเรื่องอาหาร ยา และสารพิษต่าง ๆ |
เดือนที่ 2
|
หัวลูกจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการพัฒนาการสมอง ลำคอเหยียดออก อวัยวะสำคัญต่าง ๆ เริ่มปรากฏทั้งหมด ทัวใจมีโครงสร้างสมบูรณ์ เริ่มตอบสนองต่อการสัมผัสต่าง ๆ เซลล์ประสาทเริ่มก่อตัวสานกันเหมือนระบบสายไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเป็นสมองและไขสันหลัง ที่ควบคุมระบบประสาทต่าง ๆ ทั่วร่างลูกจึงต้องการสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้ทันกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว |
เดือนที่ 3
|
อวัยวะสำคัญทั้งหมดของลูกสร้างเรียบร้อยหมดแล้ว มีซี่โครงและกระดูก และเริ่มมีแคลเซียมมาสะสมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเป็นกระดูกแข็ง อวัยวะเพศแยกได้ชัดเจน เริ่มตอบสนองกับสิ่งเร้าภายนอก ลูกจะกระเถิบตัวหนี ได้ เดือนนี้ลูกดิ้นไปมาตลอดเวลา แต่คุณแม่ยังไม่รู้สึก |
เดือนที่ 4
|
ลูกน้อยเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ส่วนขายาวกว่าแขน ส่วนโครงกระดูกถูกสร้างเพิ่มขึ้น มีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น เริ่มได้ยินเสียงของแม่และหัวใจของแม่ อวัยวะเพศภายนอกบ่งบอกเพศได้ชัดเจนขึ้น เริ่มรับรู้ถึงแสงสว่างจ้า ภายนอกครรภ์ของแม่ ในเดือนนี้จำนวนของเซลล์ประสาทจะพัฒนาและเพิ่มขึ้นเท่ากับของผู้ใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้แขนชาของลูกเคลื่อนไปตามจังหวะข้อพับได้ กำหมัดได้ |
เดือนที่ 5
|
ลูกเติบโตช้าลง แต่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพระช่วงเดือนนี้ เป็นช่วงพัฒนาความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งมีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน สามารถรับรู้แรงที่มากระแทกหน้าท้องของแม่และเคลื่อนไหวหนีได้ไว ระบบประสาทเริ่มสมบูรณ์จนสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ทำให้ดิ้น ยึด พลิกตัวได้ดีขึ้น ลูกรับรู้รส แยกรสหวานและขมได้ เริ่มมีฟันน้ำนมเกิดขึ้นภายในเหงือก |
เดือนที่ 6 | ลูกแข็งแรงมากขึ้น ตัวยาวขึ้น เริ่มได้สัดส่วนกับหัวมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น แขนขามีกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ ความยาวของขาได้ สัดส่วนกับลำตัว เซลล์สมองที่ทำหน้าที่จดจำเริ่มงานได้ ทำให้ลูกสามารถจดจำและเรียนรู้ได้แล้ว ลูกจึงจำเสียงที่พูดกับเขาบ่อย ๆ ได้ทั้งพ่อและแม่ |
เดือนที่ 7 | ในเดือนที่ 7 นี้ ระบบประสาทจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สมองจะโตคับกระโหลกศรีษะและมีร่องบนเนื้อสมองเพื่อเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล เซลล์สมองและวงจรของระบบประสาทจะประสานกันอย่างสมบูรณ์และตื่นตัวเต็มที่ ลูกสื่อความต้องการและความรู้สึกตอบโต้แม่ได้ด้วยการดิ้นและแตะ สังเกตุได้โดย ถ้ามีเสียงดัง หรือผิดเวลาอาหาร ลูกจะเตะและดิ้นแรง ลูกมีความรู้สึกเจ็บแล้ว และสามารถเคลื่อนไหวเมื่อได้ยินเสียงดนตรี รู้รส ตอบสนองต่อรสหวาน รสเปรี้ยวได้ |
เดือนที่ 8 | ร่างกายสัดส่วนของลูกเท่ากับเด็กคลอดครบกำหนดแล้ว แต่ต้องรอให้มีน้ำหนักมากกว่านี้ เพื่อโตเต็มที่และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก อวัยวะต่าง ๆ ของลูกสมบูรณ์เกือบหมด ยกเว้นปอดซึ่งพัฒนาไม่เต็มที่ และเพ่งมองไปยังจุดที่สนใจได้ รูม่านตาเริ่มขยายและหรี่ได้ เพ่งมองสิ่งต่าง ๆ ในถุงน้ำคร่ำได้ |
เดือนที่ 9
|
ลูกในครรภ์จะยังโตขึ้นและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เริ่มกลับเอาหัวลงสู่ทางช่องคลอด ไขมันใต้ผิวหนังสมบูรณ์ในทุกส่วน จนอ้วนเต็มมดลูก จึงต้องหดแขนขาอยู่ในท่าคู้ตัว เวลาที่ตื่นลูกจะลืมตาตลอด ปอดเกือบสมบูรณ์เต็มที่ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับการหายใจ
ระบบภูมิคุ้มกันโรคของลูกยังทำงานไม่ได้ ต้องอาศัยภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านรกดังนั้น ถ้าแม่มีภูมิต้านทานโรค เช่น หวัด หัดเยอรมัน ลูกจะได้ภูมิเหล่านี้ตามแม่ไปด้วย |