ตารางแสดงพัฒนาการของเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน
พัฒนาการในช่วง |
พัฒนาการทางร่างกาย |
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ |
พัฒนาการด้านสังคม |
ความต้องการของเด็ก
|
วัยแรกเกิด |
- น้ำหนัก 3-3.5 ก.ก.
- ส่วนสูงประมาณ 50 ซ.ม.
- สามารถเอียงศีรษะไปด้าน
ข้างได้ เมื่อนอนหงายหรือ
นอนคว่ำในท่าที่จับวางไว้
- สามารถเคลื่อนไหวท่อนแขน
ได้แบมือกำมือได้
- เคลื่อนไหวท่อนแขนมากกว่า
ท่อนขา
|
- อาจมีอาการตกใจง่ายโดยแสดง
อาการเกร็งหรือผวา
- ไม่ชอบการเคลื่อนไหวมากเกินไป
- ไม่ชอบอุ้มนานๆ
- แสดงอาการพอใจได้บ้างโดยทำ
เสียงในคอเบาๆ
|
- ชอบนอนโดยไม่มีการรบกวน
- เมื่อร้องไห้จะหยุดได้ถ้ารู้สึกถึง
สัมผัสที่นุ่มนวล
- เมื่อเริ่มให้ดูดนมครั้งแรกอาจ
ไม่ยอมดูด แต่จะดูดได้ดีขึ้นในวันที่
2-3
|
- ต้องการความอบอุ่นทางร่างกาย
โดยการพันผ้ารอบตัวของเด็ก
(ไม่แน่นเกินไป)
- ต้องการความอบอุ่นทางจิตใจ
จากสัมผัสอันอบอุ่นของแม่
- ต้องการดูดนม
- ต้องการความเงียบเพื่อนอนนานๆ
และแสงที่ไม่จ้าเกินไป
- ต้องการความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
- ต้องการการพูดคุยด้วยในยามตื่นนอน
|
อายุ 1 เดือน |
- น้ำหนัก 4-4.5 ก.ก.
- ส่วนสูงประมาณ 55 ซ.ม.
- เมื่ออุ้มพาดบ่าจะผงกศีรษะ
ขึ้นได้บ้าง
- สามารถมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหว
อยู่ข้างหน้าได้ในระยะใกล้ๆ
- เมื่อตื่นนอนจะมองไปรอบๆตัว
- แขนขายังเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน
- ต้องการนอนนานๆเกือบเท่าระยะ
แรกเกิด
|
- อารมณ์โดยทั่วไปไม่แตกต่างกับ
ระยะแรกเกิดมากนัก
- เริ่มยิ้มได้
|
- เมื่อมีคนเข้ามาใกล้จะเริ่มมอง
และเมื่อมีคนอุ้มจะมีอาการเกร็ง
ตัวเล็กน้อย
- สามารถแสดงอาการสะท้อนความรู้สึก
ได้บ้าง เช่น ร้องเมื่อกลัวกับร้องเมื่อไม่
สบายตัวจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย
|
- ต้องการเช่นเดียวกับระยะแรกเกิดทุกอย่าง
- ต้องการให้มีคนเอาใจใสพูดคุยด้วยมากขึ้น
- ต้องการดูของเล่นที่เคลื่อนไหวได้
|
อายุ 3 เดือน |
- น้ำหนัก 5-6.2 ก.ก.
- ส่วนสูงประมาณ 60 ซ.ม.
- ชันคอได้บ้างสามารถพลิกตัว ผงก
ศีรษะและหันไปมาได้
- บังคับกล้ามเนื้อได้บ้าง ถีบเท้าได้
- มองดูและเล่นนิ้วตัวเองได้
- ต้องการนอนหลับลดลงกว่าเดิม
|
- แสดงความรู้สึกพอใจด้วยการเปล่ง
เสียงอ้อแอ้
- ยิ้มได้บ่อยครั้งมากขึ้น
- แสดงความรู้สึกทางสีหน้าได้
|
- สนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- มองหน้าแม่ขณะดูดนม มองคนที่อยู่
ใกล้ๆได้
- รู้จักหยุดฟังเสียง เริ่มจำเสียงแม่ได้
|
- ความต้องการพื้นฐานเช่นเดียวกับเด็กอ่อน
- ต้องการของเล่นที่เหมาะสมกับการพัฒนา
ของร่างกายเด็กวัยนี้
- ต้องการคนโอบกอดและพูดคุย
- ต้องการอาหารเสริม
|
อายุ 6 เดือน |
- น้ำหนัก 7-7.5 ก.ก.
- ส่วนสูงประมาณ 65 ซ.ม.
- คว่ำและหงายได้คล่อง ถ้าช่วยพยุง
เด็กจะนั่งได้
- จับของเล่นได้โดยใช้สองมือช่วยและ
เอาของเข้าปาก
- เคลื่อนไหวได้ตามความต้องการ
- ชอบถีบเท้าและขย่มตัว
- กล้ามเนื้อมือและตาเริ่มประสานกันได้ดี
ตาจ้องที่ของในมือหรือของอื่นๆที่ห่างออกไป
และพยายามจะคว้า
|
- แสดงอารมณ์ของตนได้ชัดขึ้นโดยใช้อวัยวะ
และท่าทาง เช่น โกรธก็จะถีบเท้า
- กระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น
- มีความเข้าใจเล็กๆน้อยๆต่อการแสดงออกของผู้ใหญ่
|
- แยกแยะได้ระหว่างคนแปลกหน้ากับคนคุ้นหน้า
- สนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น
- จำเสียงแม่ได้และหันไปถูกทิศที่แม่ยืมอยู่
|
- ต้องการความอบอุ่น ความสะอาด ความเอา
ใจใส่จากพ่อแม่
- ต้องการของเล่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาในวัยนี้
|
การตรวจสอบพัฒนาการของเด็ก
หากพ่อแม่พบว่าลูกมีลักษณะที่สงสัยว่าอาจจะผิดปกติหรือมีปัญหาการเลี้ยงดูควรพาไปปรึกษาแพทย์พัฒนาการเบื้องต้นที่อาจใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบมีดังนี้
การได้ยิน ในเดือนแรกเด็กไม่สะดุ้งเวลามีเสียงดังใกล้ตัว/อายุ 6 เดือนไม่หันมองหาตามเสียง
การมองเห็น เดือนแรกไม่มองหน้า/อายุ 3 เดือนไม่มองตามสิ่งของหรือหน้าคนที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้า/6 เดือนไม่คว้าของ/9 เดือน
ไม่หยิบของชิ้นเล็กๆที่อยู่ตรงหน้า
การเคลื่อนไหว เดือนแรกแขนขาเคลื่อนไหวน้อย/อายุ 3 เดือนยังไม่ชันคอ/5 เดือนยังไม่คว่ำ/9 เดือนยังไม่นั่ง/1 ปีไม่เกาะยืน/2 ปียัง
ล้มง่ายเก้ๆกังๆ
การรู้จักใช้ภาษา อายุ 10 เดือนยังไม่เลียนเสียงพูด/1ปียังไม่เลียนแบบท่าทางยังพูดเป็นคำที่ไม่มีความหมาย /3 ปียังพูดไม่เป็นประโยค