เด็กหลอดแก้ว

การปฏิสนธินอกร่างกาย (เด็กในหลอดแก้ว) และการย้ายฝากตัวอ่อน คืออะไร ?

การปฏิสนธินอกร่างกายหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเด็กหลอดแก้ว เป็นการนำไข่ และเชื้ออสุจิมาผสมรวมกันในหลอดแก้วทดลองให้มีการรวมตัวกัน (การปฏิสนธิ) ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจำลองสภาพแวดล้อม และอุณหภูมิ ที่คล้ายกับร่างกายมนุษย์ ภายหลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้วไข่ที่ถูกผสมก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวจะเป็นตัวอ่อน ผ่านทางปากมดลูกซึ่งเรียกขั้นตอนหลังนี้ว่า การย้ายฝากตัวอ่อน 


    คู่สมรสรายใดที่ต้องการรักษาวิธีนี้ ?


การมีบุตรยากเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ กันหลายอย่าง คู่สมรสที่ประสบปัญหานี้ ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุและแก้ไขความผิดปกติที่พบด้วยวิธีง่าย ๆ ก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ จึงพิจารณาการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอีก เช่น เด็กหลอดแก้ว ในปัจจุบันมีการนำวิธีนี้มาใช้รักษาคู่สมรส ที่มีสาเหตุต่าง ๆ กัน ได้แก่

  • ท่อนำไข่อุดตัน
  • มีพังผืดมาในอุ้งเชิงกราน
  • การมีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่พบ
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ความผิดปกติที่ปากมดลูก
  • เชื้ออสุจิน้อย
  • ในกรณีที่มีการบริจาคไข่

ผู้ที่เหมาะสมที่จะรักษาด้วยวิธีจะต้องมีโพรงมดลูกที่ปกติ ซึ่งจะทราบได้โดยการตรวจเอ็กซเรย์ภายหลังจากการฉีดสีเข้าโพรงมดลูก  หรือการส่องกล้องตรวจภายในโพรงมดลูกโดยตรงและที่สำคัญฝ่ายหญิงควรมีอายุไม่เกิน 40 ปี    หากมากกว่านี้ การรักษามักไม่ได้ผลดี   

 


การทำเด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนอย่างไร


 

การทำเด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนต่าง ๆ หลายอย่าง   ก่อนการรักษาแพทย์จะทำการ ตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอย่างละเอียด   ตรวจดูการอักเสบ ติดเชื้อ และตรวจประเมิน อสุจิ หากมีความผิดปกติก็ให้การแก้ไขก่อนที่จะทำเด็กหลอดแก้ว

 

 

ขั้นตอน การปฏิบัติ
การกระตุ้นรังไข่ แพทย์จะให้ยาซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ยารับประทาน ยาฉีด ยาพ่นเข้าจมูก
การติดตามการเจริญเติบโตของถุงไข่ – โดยการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งนิยมตรวจทางช่อคลอด และการตรวจ ระดับฮอร์โมน
การฉีดยาให้ไข่สุกเต็มที่ –  ฉีดยา เอช ซี จี เมื่อถุงไข่เจริญเติบโตเต็มที่
การเก็บไข่ –  ทำการเก็บไข่ประมาณ 34 ถึง 36 ชั่วโมง หลังจากฉีดยา เอช ซี จี
การเตรียมอสุจิ -นำอสุจิส่งห้องปฏิบัติการตามที่แพทย์นัดหมายเพื่อทำการคัดแยกอสุจิ
การปฏิสนธินอกร่งกาย – – นำไข่และอสุจิผสมรวมกันในห้องปฏิบัติการเลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน
การย้ายฝากตัวอ่อน นำเอาตัวอ่อนใส่คืนโพรงมดลูก
การให้ฮอร์โมนภายหลังการเก็บไข่ – แพทย์จะให้ฮอร์โมนเพื่อช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งอาจให้โดยการฉีด รับประทาน หรือสอดในช่องคลอด
การทดสอบการตั้งครรภ์ – สามารถตรวจดูการตั้งครรภ์โดยหาฮอร์โมนในเลือดประมาณ 10-12 วัน หลังจากการใส่ตัวอ่อนเมื่อการตั้งครรภ์ประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่ามีการเจริญเติบโตของทารกหรือไม่ เป็นครรภ์แฝดหรือไม่

     ่


ทำไมจึงต้องมีการกระตุ้นรังไข่


การกระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมนจะทำให้มีถุงไข่เจริญเติบโตมากกว่า ปกติ ซึ่งทำให้เก็บไข่ได้หลาย ใบ   การเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและการตั้งครรภ์จะสูงขึ้นอย่างไรก็ตามในบางกรณี แพทย์อาจทำการเก็บไข่ในรอบระดูปกติ ซึ่งมักจะได้ไข่เพียงใบเดียว โอกาสตั้งครรภ์จะน้อยกว่าในรายที่ได้รับฮออร์โมนกระตุ้นไข่ ใน  ในกรณีนี้แพทย์ผู้ทำการรักษาจะให้คำปรึกษาแนะนำเป็นราย ๆ ไป

 การเก็บไข่ทำอย่างไร ?
   รังไข่เป็นอวัยวะอยู่ในอุ้งเชิงกราน การเก็บไข่ทำได้โดยการสอดเข็มเข้าไปที่รังไข่ ซึ่งในปัจจุบันทำได้สะดวก โดยแทงเข็มผ่านทางช่องคลอดเข้าสู่รังไข่โดยตรง ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากการตรวจอัลตราซาวน์ การเก็บไข่วิธีนี้ทำได้สะดวก ไม่มีการผ่าตัด ทางหน้าท้องและผู้รับบริการไม่ต้องนอนพักค้างในโรงพยาบาล โดยสามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านภายหลังการเก็บไข่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง


การเก็บไข่ทำให้เกิดการเจ็บปวดหรือไม่ ?


ระหว่างการเก็บไข่ แพทย์จะใช้เข็มเจาะผนังช่องคลอด เข็มนี้มีชนาดเท่าเข็มที่เจาะเลือดทั่วไป จึงไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากนัก อย่างไรก็ดีแพทย์มักจะให้ยาแก้ปวด ยากล่อมประสาทอย่างอ่อน หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ให้และบางรายอาจยาสลบเพื่อไม่ให้ผู้รับบริการรู้สึกตัว ก็ได้ ในกรณีหลังนั้อาจทำไห้ไข่เสียหายและมีโอกาสเกิดอันตรายเพิ่มขึ้น


การเก็บไข่มีอันตรายหรือไม่ ?


อันตรายจากการเก็บไข่ตรวจพบได้น้อยมาก เช่น อาจทำให้เลือดออกเพียงเล็กน้อยและการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น


การเก็บอสุจิทำอย่างไร ?


ทำได้สะดวกโดยฝ่ายเก็บอสุจิด้วยตนเอง บรรจุลงภาชนะปราศจาก เชื้อ ที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้ ก่อนทำควรงดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2-3 วัน การงดการรวมเพศเป็นเวลานานเพื่อหวังจะให้ได้อสุจิจำนวนมากขึ้น นับเป็นความเข้าใจผิด จึงไม่มีความจำเป็นในการกระทำดังกล่าว


การปฏิสนธินอกร่างกายทำได้อย่างไร ?


เมื่อเก็บไข่ไว้ในน้ำยา ที่เหมาะสม ในตู้อบ นำอสุจิที่ผ่ายชายเก็บส่งมาทำการคัดแยกเอาเฉพาะอสุจิที่เคลื่อนไหวได้ดี เมื่อไข่สมบุรณ์ ดีจึงนำไข่และอสุจิมารวมกันในหลอดหรือจานแก้ว โดยใช้อสุจิจำนวน 50,000-100,000 ตัวต่อไข่ 1 ใบ แล้วนำไปเก็บรักษาในตู้อบที่ควบคุมอุณหภูมิและสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสม ในวันที่ถัดไปจึงนำมาตรวจดูว่ามีการปฏิสนธิหรือไม่


เมื่อไรจึงจะนำตัวอ่อนไปใส่ในโพรงมดลูก ?
โดยทั่วไปนิยมนำตัวอ่อนระยะ 2-8 เซลล์ ไปใส่กลับเช้าในโพรงมดลูก ประมาณ 2-3 วัน หลังจากการเก็บไช่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแต่ละราย


การใส่ตัวอ่อนทำได้อย่างไร ? การนำตัวอ่อนไปใส่ไว้ในโพรงมดลูกทำได้ไม่ยากนัก โดยสอดท่อเล็ก ๆ ผ่านปากมดลูก จากนั้นจึงใช้หลอดเล็ก ๆ ดูดตัวอ่อนมาใส่ การใส่ตัวอ่อนจำนวนมากจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นแต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์แฝดซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อทั้ง มารดาและทารกได้ ในปัจจุบันนิยมใส่ตัวอ่อนครั้งละ 3-4 ใบ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขณะที่เกิดครรภ์แฝดมากกว่าสอง ไม่มาก


หากมีตัวอ่อนเหลือจะทำอย่างไร?


ในรายที่เก็บไช่ได้มาก และมีตัวอ่อนหลายใบหากมีตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีพอเหลือจากการใส่เข้าไปในโพรงมดลูก แล้วเก็บแช่แข็งไว้ใช้ในโอกาสต่อไป หากการรักษาในรอบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.