ตรวจเช็คสภาพรถ

6 ระบบที่ควรตรวจสอบสภาพรถยนต์เมื่อขับถึง 100,000 กม.

ในปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต การบำรุงรักษารถให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานเสมอ นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้รถควรกระทำ หากต้องการให้รถมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยเฉพาะรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาถึง 100,000 กม. ขึ้นไปควรดูแลเอาใจใส่โดยหมั่นสังเกต และตรวจสอบสภาพรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ และควรเปลี่ยน อะไหล่เมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนด

การดูแลรักษารถยนต์
ควรหลีกเลี่ยงการนำรถเข้ารับบริการตามสถานที่รับซ่อมรถยนต์ทั่วไป เพราะหากช่างซ่อมไม่มีความรู้ความชำนาญและความเข้าใจ เพียงพอ เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของรถยนต์แล้วอาจจะเกิดความเสียหายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้ใช้อะไหล่ที่ได้มาตรฐานของรถ ดังนั้นการ นำรถเข้ารับบริการกับศูนย์บริการและอะไหล่แท้ โดยช่างผู้ชำนาญงานที่มีประสบการณ์เป็นผู้ตรวจซ่อมจะเป็นวิธี่ดีที่สุดและช่วยรักษา รถของท่านให้มีอายุการใช้งานนานที่สุดด้วย

ควรตรวจสอบสภาพอะไรบ้าง
แม้ว่าท่านจะนำรถเข้ารับบริการตามระยะทางหรือระยะเวลากำหนดในสมุดรับประกัน แต่สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานานถึง 100,000 กม.นั้น ความสึกหรอที่เกิดขึ้นย่อมมีมากตามระยะทางที่ใช้ตลอดจนความเสียหายต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นก่อนถึงระยะทางหรือระยะเวลาที่กำหนด ในการเข้ารับบริการครั้งต่อไป เราจึงขอแนะนะให้ท่านตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของรถยนต์ในเบื้องต้น ดังนี้

ระบบเครื่องยนต์
1. ตรวจสอบระยะห่างของวาล์ว โดยฟังเสียงของกระเดื่องวาล์วว่าผิดปกติจากที่เคยเป็นหรือไม่
2. ตรวจสอบเสียงดังจากการทำงานของเครื่องยนต์ การสั่นของเครื่องหรือสีของไอเสียที่ปล่อยออกมา
3. ตรวจสอบจังหวะการจุดระเบิดและระบบควบคุมการทำงาน
4. ตรวจสอบความคล่องตัวของสายคันเร่งและความคล่องตัวของกลไกลิ้นเร่ง

ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์
1. ตรวจสอบการรั่วซึมของระบบระบายความร้อน การเสื่อมสภาพของท่อยางต่าง ๆ รวมทั้งครีบหม้อน้ำและรังผึ้งแอร์
2. ตรวจสอบการรั่วซึมของฝาหม้อน้ำคอยสังเกตุจากรอ่งรอยของน้ำยาหม้อน้ำที่ซึมออกมาบริเวณรอบ ๆ
3. ตรวจสอบการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ พัดลมคอนเดนเซอร์ว่าทำงานปกติหรือไม่ พัดลมจะต้องเริ่มทำงานเมื่อเครื่องยนต์ถึงอุณภูมิ ทำงานแล้ว
4. ตรวจสอบระดับน้ำระบายความร้อนที่ถังสำรอง ระดับน้ำควรจะอยู่ที่ขีดสูงสุด (MAX)
5. ตรวจสอบครีบระบายความร้อนของรังผึ้งปกติดีหรือไม่ ถ้ามีซากแมลง ใบไม้หรือโคลนติดอยู่ควรล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย

ระบบน้ำมันหล่อลื่น
1. ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำมันจากเครื่องยนต์ เช่น บริเวณฝาครอบวาล์ว ตัวเรือนจากจ่ายหรือบริเวณอ่างเก็บน้ำมันเครื่องรวมทั้ง เช็คการรั่วซึมจากห้องเกียร์ด้วย
2. ตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ ระดับน้ำมันเครื่องควรอยู่ในระดับที่ถูกต้อง
3. ดูการทำงานของระบบไฟเตือนน้ำมันต่าง ๆ ว่าทำงานปกติหรือไม่

ระบบบังคับเลี้ยวพวงมาลัยเพาเวอร์
1. ตรวจสอบการรั่วซึมจากระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ คอยสังเกตจากระดับน้ำมันในถึง เก็บน้ำมันเพาเวอร์ที่ลดลง
2. ความเสียหายของยางหุ้มเพลาขับเกี่ยวกับการฉีกขาด หลุด หลวม สำหรับยาก หุ้มเพลาขับนี้ นับเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่ออายุการทำงานของเพลาขับ ถ้าขาดการดูแลเอาใจใส่แล้วท่านอาจจะต้องเสียเงินเปลี่ยนเพลาขับใหม่โดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้
3. ตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานขับปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์

ระบบรองรับน้ำหนักระบบส่งกำลังและระบบเครื่องล่างรถยนต์
1. ตรวจสอบระยะฟรีคลัตช์ รวมทั้งการทำงานของคลัตช์ว่าปกติหรือไม่ (เกียร์
ธรรมดา)
2. ตรวจสอบระยะฟรีของลูกปืนล้อหรือฟังเสียงจากการทำงาน
3.ตรวจสอบความเสียหายของล้อและยางว่าอยู่ในสภาพที่สมควรจะเปลี่ยน
ใหม่หรือไม่
4. ตรวจสอบการรั่วซึมของช็อกอัพ
5. ตรวจสอบแรงดันลมยางให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการช่วยยืดอายุยาง และให้
ยางสึกหรือ อย่างสม่ำเสมอ ท่านควรสลับยางทุก ๆ 10,000 กม. ตามวิธีที่กำหนดไว้ในสมุดคู่มือ

ระบบห้ามล้อ
1. ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อทางเบรกและระดับน้ำมันเบรกในกระปุกสำรอง
2. ตรวจสอบการทำงานของเบรกมือ
3.ตรวจสอบความสึกหรอและความเสียหายของผ้าเบรกหน้าและคาลิปเปอร์พร้อมทั้งตรวจเช็คจาก
ดิสก์เบรก ดูการสึกหรอ ผิดหน้าเรียบดีหรือไม่ บางเกินไปหรือไม่
4. ตรวจสอบดรัมเบรกหลัง เช็คการรั่วซึมของกระบอกเบรกหลัง และการสึกหรอของผ้า
เบรกกันจานเบรก
5. ตรวจสอบแม่ปั๊มเบรก กระบอกแม่ปั๊มเบรกและหม้อลมเบรกด้วย
6. ตรวจสอบการทำงานในระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ว่ามีการทำงานที่สมบูรณ์หรือไม่

วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการตรวจสอบสภาพรถที่ผ่านการใช้งานมาถึง
100,000 กม. ถ้าขาดการดูแลรักษาตรวจเช็คเป็นประจำ การใช้งานผิดประเภท หรือการขับขี่อย่างไม่ทะนุถนอม ก็จะทำ ให้ท่านเสียทั้งเงินและเวลาก่อนถึงเวลาอันสมควร หากพบความผิดปกติควรรีบแก้ไขหรือเข้าศูนย์บริการ เพื่อบำรุงรักษารถให้มีอายุการใช้งานนานยิ่งขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.