หน้าแรก › ฟอรั่ม › ความสวยความงาม และ สุขภาพ › หงุดหงิดง่าย – ขาดสมาธิ สัญญาณเตือนความดันสูง
- This topic is empty.
-
ผู้เขียนข้อความ
-
ธันวาคม 16, 2023 เวลา 11:37 pm #8556ThanakiKeymaster
ความดันโลหิตสูงคือ ต้นเหตุโรคร้ายนานาชนิด ทั้งหัวใจวายเฉียบพลัน อัมพฤกษ์ -อัมพาต ดังนั้นจึงอย่าละเลยควรดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ โรคนี้ส่อเค้าให้เราเห็น โดยเริ่มจากอาการหงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณเตือนอันตรายได้ทั้งนั้น น.พ.บรรหาร กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เปิดเผยว่า
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลายโรค เช่น หัวใจวายแบบเฉียบพลัน อัมพฤกษ์ – อัมพาต ไตวายและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตันโดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายเฉียบพลันนั้นถือว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคนี้ “ความดันโลหิตสูงเป็นระยะเริ่มทำให้กล้ามเนื้อหัวใจพองขึ้นอันเกิดจากหัวใจทำงานหนักขึ้นและเมื่อหัวใจทำงานมากขึ้นก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น หรือออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดเส้นหลอดเลือดแดงแข็ง และมีก้อนไขมันมาอุดหลอดเลือด แล้วก้อนไขมันสามารถอุดหลอดเลือดได้ง่ายขึ้นทำให้เกิดโรคหัวใจวายแบบเฉียบพลัน” น.พ.บรรหาร กล่าวถึงผู้ที่เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจวายแบบเฉียบพลัน โดยทั่วไปมักมีอาการแรกเริ่มที่สำคัญ คือ เจ็บหน้าอกแบบกะทันหันและเจ็บนาน เจ็บลึก และเจ็บร้าวไปแขนซ้าย ปวดกราม หรือร้าว ไปด้านหลัง และส่วนน้อยจะมีเจ็บปวดร้าวไปบริเวณท้อง บุคคลเหล่านี้เมื่อเป็นหัวใจวายเฉียบพลันก็จะเสียชีวิตโดยที่ยังมาไม่ถึงโรงพยาบาลกว่า 50% แต่ถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลแล้ว อัตราการตายด้วย โรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันจะลดเหลือเพียง 10% เพราะวิทยาการในการรักษาปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก และมีหลายวิธีขึ้นกับสาเหตุ ตัวอย่าง เช่น หากทราบว่าสาเหตุของหัวใจวายเฉียบพลันนั้นเกิดขึ้นมาจากลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือด
สิ่งแรก ที่ควรจะทำก็คือให้ยาละลายลิ่มเลือด เพราะการละลายลิ่มเลือดนี้ถ้าหากประสบผลสำเร็จคนไข้ก็จะสบายขึ้น เลือดก็จะไหลผ่านหลอดเลือดเช่นนั้นได้ แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถที่จะไหลผ่านได้ และคนไข้เริ่มแย่ลง ก็มีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การใส่บอลลูนเข้าไปขยายหลอดเลือดและ การใช้ยาบางอย่างร่วมด้วย เช่น แอสไพริน หรือยาที่ป้องกันไม่ให้เลือดแข็ง หรือยาที่ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดนอกจากนี้ยังจำเป็นต้องรักษาไขมันในโลหิตที่ผิดปกติให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติด้วย“ปัจจุบันวงการแพทย์ทั่วโลกยอมรับว่าการลดความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสามารถลดอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจขาดเลือดได้” แต่อย่างไรก็ตามหลายคนมักมองข้ามความสำคัญของความดันโลหิตสูงเพราะในระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงอันตรายใดๆ แต่ก็มีอาการบางอย่างที่ผู้ป่วยสังเกตได้ เช่น หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิอย่างเมื่อก่อนเคยอ่านหนังสือหรือทำงานแบบใช้ความคิดได้ 3 ชั่วโมง ต่อมาอาจได้แค่ชั่วโมงเดียว หรืออาจมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ มึนศีรษะ ปวดหัว และใจสั่น เป็นต้น” น.พ.บรรหาร กล่าวปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น เพศ วัย เชื้อชาติ และการทานอาหารเค็ม ตลอดจนความอ้วน การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่เป็นเบาหวานเหล่านี้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง นอกจากนี้การเปลี่ยนพฤติกรรม บางอย่าง เช่น การลดทานเกลือหรือลดความเค็ม ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะหรือประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน การเลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่เป็นจำพวกไขมัน และออกกำลังกายจะช่วยให้ความดันโลหิตสูงลดลงถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ
“การออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพของกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานดีขึ้น”ซึ่งวิธีที่ง่าย และควรจะปฏิบัติก็คือ การวิ่งจ๊อกกิ้ง วิ่งเหยาะๆ แต่ต้องได้เวลา 30-40 นาทีต่อวัน และอย่างน้อย4วันต่อสัปดาห์ แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักข้างต้นแล้ว ความดันโลหิตสูงยังไม่ลดลง ในเกณฑ์ปกติก็จำเป็นที่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อจะรับยาลดความดันโลหิตสูง” น.พ.บรรหารกล่าวในที่สุด
(กรุงเทพธุรกิจ 30 พฤศจิกายน 2542 ) -
ผู้เขียนข้อความ
- คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้