การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี
เทคโนโลยีในรถยนต์นับวันจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นโดยเฉพาะกับรถกระบะ คนส่วนใหญ่ที่นิยมใช้รถประเภทนี้มักจะอยู่ตามต่างจังหวัด ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเกี่ยวกับความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและสมรรถนะถูกนำมาบรรจุไว้ในรถกระบะมากขึ้น และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้กับรถกระบะนี่แหละทำให้ต้องเขียนเรื่องของ การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี แต่ก่อนเกียร์ออโตที่ใช้กับรถกระบะในบ้านเรายังไม่มี มีแต่ในรถยนต์นั่งจนทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า เกียร์ออโตกับรถกระบะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะเข้ากันสักเท่าไหร่ เลยจะต้องมาว่ากันในเรื่องของการใช้งาน เพราะการใช้งานเกียร์ออโต้ที่ถูกต้องนี่แหละที่จะบอกได้ว่าเกียร์ออโตทนหรือไม่ทน ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย
เกียร์ออโตที่มีใช้อยู่ในรถยนต์นั้นมีพัฒนาการเช่นเดียวกับเครื่องยนต์ และรถยนต์เหมือนกัน การพัฒนาในเชิงของโครงสร้างภายในนั้นไม่ค่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก แต่ความก้าวหน้าทันสมัยมักจะพุ่งไปที่ระบบควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ให้สัมพันธ์กับการขับขี่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความนุ่มนวลในการเปลี่ยนเกียร์ ความแม่นยำของตำแหน่งเกียร์และความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนเกียร์ ตามลักษณะการขับขี่หรือสภาพถนนที่รถวิ่ง มักจะพูดกันติดปากว่าเกียร์ฉลาดขึ้นทำให้ลดความเข้า ใจเก่า ๆ เกี่ยวกับเกียร์ออโตลงไป เช่น กินกำลังเครื่อง เปลืองน้ำมันพราะความฉลาดของระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมมาเพื่อให้ เกียร์ทำงานในแบบที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานทำให้บางทีลูกเล่นที่ใช้กับ เกียร์ออโตที่คนรุ่นเก่า ๆ สอนกันมากใช้ไม่ได้ผลแต่กับในรถกระบะบ้านเรานั้นเกียร์ออโตที่ถูกนำมาใช้ยัง ไม่ฉลาดเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้ฉลาดพอสมควร การปรับเซ็ทหรืออกแบบมาเพื่อใช้กับงานที่หนักไปทางบรรทุกในพิกัดบรรทุกที่รถ คันนั้นถูกออกแบบมา ถ้าการใช้งานอยู่ในพิกัดที่ว่ามา เกียร์ก็จะทนแบบปกติ แต่ส่วนใหญ่การใช้รถกระบะของคนบ้านเรายังเป็นแบบ “จิปาถะ” และหนักจนเกินไป ดังนั้นมันก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่าความทนทานนานปีมันก็ต้องลดลงบ้าง การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี ก็อยู่ที่การใช้งานให้เป็นนั่นเอง
โครงสร้างภายในเกียร์ออโตเมติค
เกียร์ออโตเป็นเกียร์ที่มีความทนทานไม่เสียง่าย มีการสึกหรอน้อย มีอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการใช้งาน เป็นเกียร์ที่ให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ แต่ก็มักจะเป็นปัญหากับผู้ที่เริ่มใช้หรือใช้เป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการสตาร์ทเครื่องยนต์ ตำแหน่งการทำงานของเกียร์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่เคยชิน การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี สิ่งที่ต้องทำความรู้จักเป็นอันดับแรกก็คือ “ตำแหน่งเกียร์” ปัจจุบันสะดวกมากขึ้น เพราะจะมีไฟโชว์ตำแหน่งเกียร์บนหน้าปัดโดยไม่ต้องก้มลงมอง แต่ถ้าจะให้ดีจำให้ได้โดยไม่ต้องก้มดูตำแหน่งเกียร์จะดีกว่า การขับเคลื่อนในเกียร์ออโต เกียร์จะทำการเปลี่ยนอัตราทด 1-2-3-4 เอง ตามความเร็วที่รถวิ่ง แต่รถเกียร์ออโตเราจะไม่เห็นอัตราทด 1-4 ที่กล่าวมา เพราะอัตราทดดังกล่าวจะมารวมกันอยู่ในตำแหน่งเกียร์ “D-D 3-2” ซึ่งทั้งหมดเป็นเกียร์ขับเดินหน้า เมื่อเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง “D” เมื่อรถออกตัว เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดขึ้น-ลง ไปเรื่อย ๆ ตามความเร็วของรถ ส่วนตำแหน่ง “D 3” เกียร์จะทำงานเช่นเดียวกับตำแหน่ง “D” แต่อัตราทดจะถูกล็อคอยู่เพียงแค่เกียร์ 3 ซึ่งเป็นอัตราทด 1:1 ไม่เปลี่ยนเป็น เกียร์ 4 ซึ่งเป็นอัตราทดโอเวอร์ไดรว์ ส่วนตำแหน่งเกียร์ 2 ก็เช่นกันเกียร์จะล็อคอัตราทดให้เกียร์เปลี่ยนเฉพาะอัตราทด 1-2 เท่านั้น ในเกียร์ออโตที่มีใช้ในรถกระบะบ้านเรา จะเห็นความพิเศษเพิ่มขึ้นอีกคือ มักจะมีปุ่ม “Hold” ซึ่ง ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ในการล็อคตำแหน่งเกียร์ให้เริ่มทำงานที่เกียร์อัตราทด เกียร์ 2 และสิ้นสุดการทำงานที่อัตราทดเกียร์ 2 เพื่อป้องกันการหมุนฟรีของล้อจากอัตราทดที่สูงในเกียร์ 1 ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อใช้ในสภาพผิวถนนที่ลื่นเช่น ถนนที่มีโคลนเลน นอกจากตำแหน่งเกียร์เดินหน้าแล้วเกียร์ออโตจะประกอบไปด้วยตำแหน่ง “P” เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ทุกครั้งที่จอดในที่จอดรถโดยรถจะไม่สามารถขยับได้ ตำแหน่ง “R” เป็นตำแหน่งเกียร์ถอยหลังและ “N” คือ ตำแหน่งเกียร์ว่างการวางตำแหน่งเกียร์จะเรียงจาก P-R-N-D-D3-2
การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี ใช้ให้เป็น เลือกเกียร์ให้ถูก
การใช้เกียร์ออโตอย่างถูกวิธี ที่ถูกต้องจะเริ่มตั้งแต่การ “สตาร์ทเครื่องยนต์” เพื่อความปลอดภัยสูงสุดควรตรวจสอบดูตำแหน่งคันเกียร์หลังจากที่นั่งประจำ ตำแหน่งและคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว ตำแหน่งคันเกียร์หลังจากที่นั่งประจำตำแหน่ง และคาดเข็มขัดนิภัยแล้ว ตำแหน่งคันเกียร์จะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง “P” หรือ “N” เท่านั้น และขณะที่สตาร์ทเครื่องยนต์ เท้าขวาควรจะวางไว้บนแป้นเบรค ในรถยนต์บางรุ่นอาจจะสตาร์ทไม่ติดถ้าไม่รัดเข็มขัดนิรภัย สิ่งหนึ่งที่ควรจะฝึกให้เคยชินก็คือ รถเกียร์ออโตไม่จำเป็นต้องใช้เท้าซ้ายทำความคุ้นเคยกับตำแหน่งการวางเท้า ในตำแหน่งที่ดีที่สุดในการขยับปลายเท้าไปมาระหว่างเบรคกับคันเร่ง เพราะเท่าที่สังเกตส่วนใหญ่แป้นเบรคของรถเกียร์ออโตจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ การวางตำแหน่งเท้าไม่ดีพอ เวลาตกใจจะเหยียบเบรคอาจจะกลายเป็นเร่งส่งอย่างที่เห็นเป็นข่าวกันบ่อย ๆ การสตาร์ทเครื่องยนต์ในตำแหน่งเกียร์ “P” จะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุด เพราะการเลื่อนคันเกียร์ออโตนั้นบางตำแหน่งต้องปลดล็อคคันเกียร์ แต่บางตำแหน่งต้องปลดล็อคคันเกียร์แต่บางตำแหน่งก็ไม่ต้องปลดล็อคคันเกียร์ เพื่อป้องกันการเลื่อนของคันเกียร์โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเป็นที่มาของอุบัติเหตุให้เราได้ยินบ่อย ๆ
การเลื่อนคันเกียร์ เป็นหนึ่งใน การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์นั้น ควรรอสักพักหลังจากติดเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์ได้อุณหภูมิการทำงาน หากเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ใช้เกียร์ออโต รอบเครื่องจะสูงกว่าปกติอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะลดระดับลงมาที่ความเร็วรอบเดิน เบาปกติ การเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งขับเคลื่อน D หรือ ถอยหลัง R เลยหลังจากติดเครื่องจะทำให้รถเกิดอาการกระตุกและเคลื่อนที่ด้วยแรงหรือความ เร็วที่มากกว่าปกติ และสิ่งที่ควรระวังอีกอย่างหนึ่งของพวกที่จอดติดไฟแดงแล้วไม่ชอบเปลี่ยนเป็น เกียร์ว่าง คาคันเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D คือ คอมเพรสเซอร์แอร์ตัดจะทำให้รอบเครื่องสูงขึ้น ถ้าไม่ได้เหยียบเบรค หรือดึงเบรคมือไว้รถจะกระโดดไปข้างหน้าและถึงแม้ว่าจะมีการล็อคเบรคไว้ ก็จะไม่เป็นผลดีกับเกียร์มีผลต่ออายุการใช้งานของเกียร์เช่นกัน ดังนั้นทุกครั้งที่หยุดรถชั่วคราวควรจะเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์เป็นเกียร์ว่าง N
การเลื่อนคันเกียร์ในเกียร์ออโตจากตำแหน่งจอด P มาตำแหน่งถอยหลัง R จะต้องปลดล็อค ส่วน R มา N จะสามารถเลื่อนได้เลยไม่มีล็อค แต่ถ้ากลับกัน N ไป R จะต้องปลดล็อคถึงจะเลื่อนได้ ในตำแหน่ง N ไป D และตำแหน่ง D กลับไปที่ N ไม่จำเป็นต้องปลดล็อคสามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้ และเช่นกันเมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งคันเกียร์จาก D ลงไปสู่ตำแหน่ง D 3 และ 2 ต้องปลดล็อคเพื่อความปลอดภัยของระบบเกียร์
การใช้เกียร์อัตโนมัติในตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง การเปลี่ยนเกียร์ควรให้รถหยุดสนิท ก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่งเกียร์มาที่ R เพราะเมื่อมีการเลื่นคันเกียร์มาในตำแหน่ง R ที่เฟืองเกียร์ในตำแหน่งนี้มีทิศทางการหมุนที่ตรงกันข้ามกับเกียร์เดินหน้า การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ขณะที่รถยังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่เกียร์มีการทำงานในทิศทางที่สวนกัน จะทำให้เกียร์พังเร็วกว่าปกติมาก การเลื่อนคันเกียร์ไปในตำแหน่งถอยหลังเมื่อรถหยุดสนิททุกครั้งควรเหยียบเบรค เพื่อให้คนขับได้มีเวลาเตรียมตัวสำหรับการถอยหลัง และในเกียร์ออโตเพียงแค่ยกเท้าออกจากเบรคตำแหน่งเกีรยร์ถอยที่มีอัตราทดที่สูงอยู่แล้ว รถจะเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง คนขับเพียงแต่เหยียบเบรคเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่เท่านั้นนอกซะจากจะเป็นการ ถอยหลังขึ้นเนินที่มีความชันพอสมควร
ปัญหาหนึ่งของผู้ที่ใช้รถเกียร์ออโตมือใหม่ไม่แน่ใจคือ เมื่อขับรถเกียร์ออโตในทางลาดชันควรใช้เกียร์อะไร? การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี การขับคงต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ “การขับขึ้นเนิน” เกียร์ ที่ใช้ก็เป็นเกียร์ขับเคลื่อนตามปกติ และถ้าเนินชันหรือทางลาดนั้นมีความยาวมากหรือความเร็วลดลงแต่รอบเครื่องยนต์ ค่อย ๆ ขยับขึ้น สิ่งที่ต้องทำคือยกคันเร่งให้รอบเครื่องต่ำลงแล้วขยับคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง D3 ไม่ควรเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรง เพราะกลไกเกียร์จะทำการเปลี่ยนอัตราทดลงไปที่เกียร์ต่ำในขณะที่รอบเครื่อง สูงซึ่งอาจจะทำให้เกียร์เกิดการเสียหายได้ และถ้ายังมีอาการ เหมือนจะเกินขึ้นไม่ไหวหรือเกียร์เปลี่ยนเร็วแต่ไม่ได้ความเร็วก็ยกเท้าออก จารกคันเร่งเพื่อให้รอบต่ำลงหรือหยุดรถการหยุดรถระหว่างการขับขึ้นทางลาดควร ใช้เบรคทุกครั้งไม่ควรจะใช้กำลังขับช่วยในการหยุดรถระหว่างการขับขึ้นทางลาด ควรใช้เบรคทุกครั้งไม่ควรจะใช้กำลังขับช่วยในการหยุดรถ หลังจากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง 2 ซึ่งจะเป็นการล็อคอัตราทดเฉพาะเกียร์ 1-2 ซึ่งก็เหมือนกับการที่เราขับรถลากรถเกียร์ 1 หรือเกียร์ 2 เพื่อให้ได้แรงบิดเพื่อขึ้นทางลาดจากนั้นก็ยกเท้าออกจากเบรคเหยียบคันเร่ง ซึ่งควรเป็นไปอย่งนุ่มนวลเพื่อไม่ใช้ล้อเกิดการฟรีจากแรงบิดที่สูง ส่วน “การขับลง” ทาง ลาดชันนั้นการควบคุมความเร็วของรถเป็นหน้าที่ของเท้าขวาที่เป็นประจำอยู่บน แป้นเบรค ถ้าทางลงมีความลาดมาก ๆ ก็ทำเหมือนตอนขึ้นคือ เปลี่ยนตำแหน่งคันเกียร์มาที่ D3 หรือถ้าชันมากก็ควรเปลี่ยนมาที่ 2 เพื่อให้ได้แรงมาจากเอนจิ้นเบรค อย่าลงทางลาดชันโดยเกียร์ว่าง (N) หรือเกียร์เดินหน้าปกติ (D) เพราะเครื่องยนต์จะไม่มีเอนจิ้นเบรคช่วยชะลอความเร็ว และการขับรถลงทางลาดนั้นควรใช้เบรคร่วมด้วยเป็นระยะ แต่ไม่ควรเลียเบรคเพราะจะทำให้ผ้าเบรคร้อนจนไหม้ แล้วรถจะเบรคไม่อยู่
ส่วนที่เป็นสมองของเกียร์ เมื่อเลื่อนคันเกียร์ คือ การบังคับทิศทางการไหลของน้ำมันเกียร์ให้ไปยังตำแหน่งทำงานที่ต้องการ
การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี สิ่งที่ควรจะต้องรู้ ก็คือ “อัตราเร่ง” เพราะน้อยคนนักที่จะรู้จักคำว่า “Kick Down” หรือ “Shiff Down” หรืออาจจะเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรและทำไม่เป็น เวลาจะแซงก็เลยกดคันเร่งเหมือนที่เคยทำบางคนถูกจังหวะพอดีรถพุ่ง แต่ด้วยความตกใจก็เลยยกเท้าออกจากคันเร่งทำให้เป็นความเข้าใจผิดที่พูดต่อ ๆ กันมาเกียร์ออโต “ไม่ดี อย่าไปใข้มันเลย” การ “คิกดาวน์” หรือ “ชิฟท์ดาวน์” พูดให้เข้าใจง่ายก็เหมือนการ “เชนจ์เกียร์” ในเกียร์ธรรมดานั่นเอง เพียงแต่ในเกียร์ออโตจะสบายกว่าไม่ต้องยกคันเร่ง เหยียบคลัทช์ ลดเกียร์ปล่อยคลัทช์ เหยียบคันเร่ง ในเกียร์ออโตเพียงแต่ “กดคันเร่งให้มิด” ในการคิกดาวน์ หรือ “ขยับคันเกียร์ลงมาหนึ่งตำแหน่ง” ในชิฟท์ดาวน์ เพียงแค่นี้ ระบบเกียร์ก็จะเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ให้ต่ำลงจากเดิมมา 1 ตำแหน่งเหมือนการเชนจ์เกียร์ในรถเกียร์ธรรมดาทุกประการ แต่การเรียกอัตราเร่งแบบนี้ก็ต้องระวังในเรื่องของรอเครื่องขณะที่กระทืบคัน เร่งหรือขยับคันเกียร์เช่นกัน ความแตกต่างระหว่างการ “Kick Down” กับ “Shiff Down” จะอยู่ที่ความไวในการตอบสนอง การจะเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุกที่กำลังแบกอยู่ในขณะนั้นมากกว่า การคิกดาวน์จะตอบสนองได้ผลมากกว่ากับน้ำหนักบรรทุกที่น้อย แต่ถ้ามีน้ำหนักบรรทุกมากหน่อยการ “ชิฟท์ดาวน์” จะให้การตอบสนองที่ดีกว่า ส่วนน้ำหนักที่แบกจะมากน้อยเพียงใดถึงจะรู้ว่าใช้แบบใดขึ้นอยู่กับเกียร์ของ รถแต่ละรุ่นที่ไม่เหมือนกัน คนที่คุ้นเคยและใช้งานประจำจะรู้ได้ดีกว่าดังนั้นการฝึกใช้บ่อย ๆ จะให้คำตอบได้ดีกว่า สังเกตว่าถ้า “กด” คันเร่ง หรือ “เลื่อน” คันเกียร์แล้ว “พุ่ง” นั่นแหละใช่เลย “Kick Down” หรือ “Shiff Down” แน่นอน เมื่อรู้แล้วก็ฝึกให้ชินกับจังหวะที่มันทำงานจะได้กะจังหวะแซงได้ถูก
โครงสร้างภายในของระบบคลัทช์ไฮดรอลิกที่เรียกว่า “ทอร์คคอนเวอร์เตอร์”ลักษณะของคลัทช์ไฮดรอลิคที่เรียกว่า “ทอร์คคอนเวอร์เตอร์”
อีกข้อหนึ่งที่ฮิตมากก็คือ “เกียร์ออโตเข็นสตาร์ท” ไม่ได้นับว่าเป็นความเข้าใจผิดที่ผิด เอ๊ะงง “เกียร์ออโตเข็นสตาร์ทได้ แต่ไม่มีใครเขากล้าทำกันจนคนเข้าใจว่าทำไม่ได้ อยากให้ลองคิดดูว่าในการเข็นสตาร์ทในเกียร์ธรรมดาก็คือ การไปทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน แล้วทำไมในเกียร์ออโตจะทำไม่ได้ แต่ที่ไม่ทำกันก็เพราะในเกียร์ออโตต้องเข็นให้รถมีความเร็วถึง 25 กม./ชม. ถ้าจะใช้คนดันก็คงไม่ไหว ใช้รถดันก็คงไม่เหมาะแต่ถ้าปล่อยไหลลงทางลาดก็พอไหว แต่ต้องไม่ชันมากและมีทางยาวพอสมควร เพราะค่อนข้างอันตรายคนเลยไม่ทำกันจนเป็นความเข้าใจผิด สู้การพ่วงแบตเตอรี่ไม่ได้ สะดวกกว่ากันเยอะเลย
การเอาใจใส่ดูแลปริมาณน้ำมันเกียร์ ก็เป็นหนึ่งใน การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี อาการผิดปกติที่มักจะเกิดกับเกียร์ออโตเมื่อปริมาณน้ำมันเกียร์น้อยเกินไป ก็มีตั้งแต่เข้าเกียร์แล้วรถไม่ขยับเกียร์ไม่เปลี่ยนหรือต้องเดินคันเร่งลึกกว่า ปกติกว่าที่รถจะขยับตัว เพื่อให้การใช้งานเกียร์ออโตให้ยาวนานขึ้น “การตรวจน้ำมันเกียร์” ควรทำอาทิตย์ละครั้งบนพื้นที่จอดรถที่ได้ระดับขึ้นเบรคมือ คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง “P” ติดเครื่องให้เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบาอยู่ระหว่างขีดบนกับล่างและควรมี การเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดในคู่มือประจำรถ การสังเกตสีของน้ำมันที่เปลี่ยนไป ความข้นหนืดที่ลดลง หรือแม้กระทั่งกลิ่นเหม็นไหม้ของน้ำมันเกียร์ก็เป็นอาการเริ่มแรกที่บอกได้ ถึงความผิดปกติที่เกิดกับเกียร์ ดังนั้นการตรวจสอบอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอรวมทั้ง การใช้เกียร์ออโต้อย่างถูกวิธี ก็เป็น ทางหนึ่งที่ช่วยให้เกียร์ออโตอยู่รับใช้ให้ความสบายกับการขับขี่ได้นานขึ้นอีก