พิษณุโลกเมืองเก่าแก่แต่โบราณ
ใครได้ไปพิษณุโลกจะพบว่า บรรยากาศหลายๆอย่างยังดูโบราณอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรือนแพที่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เห็นอยู่โดยทั่วไป ที่มาที่ไปของเมืองพิษณุโลก เป็นไปอย่างไรบ้าง มาตรวจสอบประวัติของเมืองนี้กันดีกว่า
จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ของราชวงศ์พระร่วงโดยมีหลักฐานว่าพิษณุโลกหรือสองแคว เป็นเมืองที่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์พ่อขุนผาเมือง จนกระทั่งถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง จึงได้ทรงยึดเมืองสองแควเข้าไว้ในอาณาจักรสุโขทัยเพื่อสกัด กั้นมิให้อาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจขึ้นมาครอบครองสุโขทัย แต่ในที่สุดเมื่อถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ครองกรุงศรีอยุธยา พระองค์ก็สามารถทำสงครามยึดเมืองสองแควได้ เมืองสองแควจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา และมีฐานะเป็นราชธานีของหัวเมือง ฝ่ายเหนือ เมืองสองแควจึงถือเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่ง ของกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นเมืองหลวงของอยุธยาอยู่ช่วงหนึ่งในสมัยสมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถ ทั้งได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองสองแคว เป็น พิษณุโลก ด้วย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 พิษณุโลกจึงเปลี่ยนฐานะ เป็นจังหวัด ๆ หนึ่งของประเทศจนถึงปัจจุบันครับ
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม สิ่งปลูกสร้างต่างๆจึงสะท้อนวิถีชีวิตไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญที่เมืองสองแควนี้ มีพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกริมถนนพุทธบูชา ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองครับ เป็นวัดหลวงชั้นเอก “วรมหาวิหาร” ภายในวิหาร ชาวเมือง พิษณุโลกเรียกพระพุทธชินราชว่า “หลวงพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อ ด้วยทองสำริดในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( พญาลิไท ) โปรดให้สร้าง ขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และพระศรีศาสดาซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร