โรค “ฝีในท้อง” หรือที่เรียกขานกันในปัจจุบันว่า “วัณโรคปอด” ในอดีตนั้นเป็นโรคที่คนไทยรู้จักและหวาดกลัวกันมากเพราะ ไม่มียาที่จะป้องกัน และรักษาให้โรคนี้หากขาดได้ แต่ปัจจุบันด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าทางการแพทย์ ทําให้เราสามารถป้องกันและ รักษาโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันการแพร่กระจายของ “วัณโรคปอด” มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเพราะพบว่ามีความเกี่ยวพันกับการแพร่ระบาดของ โรคเอดส์ ข้อมูลจากกองระบาดวิทยาสํานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข และกองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวง สาธารณสุข เดือนมกราคม 2541 พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ จํานวน 32,485 ราย ป่วยเป็นวัณโรคปอดถึง 19.678 ราย ซึ่ง นับว่าสูงมาก ประเทศไทยจึงจําเป็นต้องหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคนี้ จึงได้ขยายงานควบคุมป้องกันและรักษาวัณโรคใน โรงพยาบาลระดับจังหวัดและอําเภอ โดยจัดตั้งคลินิควัณโรคขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
หลักการสําคัญที่ใช้ในการควบคุมวัณโรคคือ “การตัดวงจรการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค” โดยมีมาตรการกําหนดไว้ว่า ผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ ควรได้รับการตรวจ รักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง และหายจากอาการของโรคไม่ต่ํากว่า 85% ของผู้ป่วยทั้งหมด และทําการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพื่อนํามาให้การบําบัดรักษาให้ได้จํานวนถึง 75% ของผู้ป่วยทั้งหมดในชุมชนแต่ละแห่ง
จากสถิติข้อมูลของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขปี 2540 พบว่าประชากรไทยจํานวน 37 คน จาก100,000 คน ป่วยเป็นวัณโรคจึงจําเป็นต้องค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การจัดหน่วยเอ็กซเรย์ปอดเคลื่อน ที่ ส่งผู้ป่วย ที่พบว่ามีปัญหาปอดที่ตรวจพบจากการเอ็กซเรย์เข้ารับการตรวจ รักษาในสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน รวมทั้งการอบรมให้ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ทําหน้าที่ในการค้นหาผู้ป่วยราย ใหม่และให้คําแนะนําในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองให้ถูกต้อง ในขณะป่วยเป็นโรคนี้
การป้องกัน “วัณโรคปอด” ทําได้โดยการฉีดวัคซีน “บีซีจี” แก่เด็กวัยแรกเกิด ถึง 7 ปี จากการศึกษาพบว่า ถ้าเด็กในวัยดังกล่าว ได้รับวัคซีนในช่วง 1 ขวบปีแรก และได้รับอีก 1 ครั้ง ในช่วง อายุ 6-8 ปี ในรายที่ไม่พบแผลเป็นจากการฉีดวัคซีนในครั้งแรก เด็กผู้นั้นจะมีภูมิคุ้มกันโรคไปได้เป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเด็กโตขึ้นจะได้ภูมิคุ้มกันโรคเสริมจากภาระสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ในรายที่ตรวจพบเชื้อในร่างกายจะต้องรักษาให้หายขาดด้วยยา เพื่อให้เชื้อหมดไป
การรักษาในปัจจุบันใช้ระบบการให้ยา ระยะสั้น 4 เดือน ซึ่งมีประสิทธิภาพมาก เพราะพบว่าหลังจาก ผู้ป่วยได้ยาครบตามกําหนดมักตรวจไม่พบเชื้อในเสมหะอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากการใช้ยาก็ยังมีอยู่เช่น “การแพ้ยา” “การดื้อยา” และ “การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ” จึงจําเป็นต้องมีการชี้แจงทําความ เข้าใจให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงผลข้างเคียงในการใช้ยารักษาโรคนี้ รวมทั้งการปฏิบัติตัวไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายและติดต่อไปสู่ผู้อื่น เช่น การทําลายเสมหะด้วยวิธีที่ถูกต้อง หรือขณะไอ-จาม ต้องปิดจมูก และปาก เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย และควรรับการตรวจรักษาตาม คําแนะนําของแพทย์อย่างสม่ําเสมอ เป็นต้น
ปี 2541 กรมควบคุมโรคติดต่อมุ่งเน้นให้เห็นว่า “วัณโรค จะหมดไป ถ้าร่วมใจกันดูแล” ซึ่งเป็นแนวทางชัดเจนในการ ควบคุม – ป้องกันไม่ให้ “วัณโรคปอด” มีการแพร่ระบาดมากขึ้น
ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรคติดต่อและกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2541
พาที โชคชัยศิริวัฒน์