รอบรู้…โรคมะเร็ง
มีการคาดการณ์กันว่า ในปี พ.ศ. 2558 จะมีคนเป็นโรค มะเร็งเพิ่มขึ้นจาก 9 ล้านคน เป็น 15 ล้านคน และ 2 ใน 3 ของ ผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุมาจาก การเพิ่มจํานวนประชากร จํานวนผู้สูงอายุและอัตราของผู้สูบบุหรี่ ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดําเนินชีวิตของผู้คน และ ภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกัน และควบคุมได้อย่างทั่วถึง
ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 มีรายงานผู้ป่วยจาก สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเนื้องอก (รวมมะเร็ง) ทั่วประเทศ จํานวน 188,619 รายคิดเป็นร้อยละ 3.51 โดยเป็น มะเร็งตับมากที่สุด จํานวน 7,366 ราย รองลงมาเป็นมะเร็งปอด 5,279 ราย มะเร็งเต้านม 5,042 ราย และมะเร็งมดลูก 4,422 ราย ต่อประชากร 100,000 คน และพบว่าสาเหตุของการตายด้วย มะเร็งตับและท่อน้ำดีมีมากที่สุด จํานวน 6,004 ราย เป็นชาย 4,219 ราย หญิง 1,785 ราย เป็นมะเร็งหลอดลมและปอด 2,772 ราย เป็นชาย 1,982 ราย และหญิง 790 ราย
โรคมะเร็ง เกิดจากเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ มี โอกาสเกิดได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย สามารถทําลายเนื้อเยื่อ ใกล้เคียง และกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ โดยผ่านไปตาม ต่อมน้ำเหลือง และกระแสเลือด เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยมี พฤติกรรม หรือสุขนิสัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยเสริม เช่น ภูมิคุ้มกัน บกพร่อง ความผิดปกติของยีนมาแต่กําเนิด (พันธุกรรม) หรือได้รับ สารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี รังสี สารพิษจากการสูบบุหรี เป็นต้น
อาการเบื้องต้นของการเกิดโรคมะเร็งที่จะสังเกตได้ และ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ และรับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
– เป็นตุ่มก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ ภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก เป็นแผลเรื้อรังนาน ๆ แล้วไม่หาย
– ตกขาวมาก และมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
– เป็นหูด ไผ่ ปาน ที่โตขึ้นผิดปกติ
– ท้องอืด เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก
– ไอเรื้อรัง เสียงแหบแห้งอยู่เสมอ
– การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะที่ผิดไปจากปกตินิสัย
– หูอื้อ มีเลือดกําเดาไหล
มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบ แต่เนิ่นๆ และไปรับการรักษาได้เร็ว มะเร็งบางชนิดหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 80-100% สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ “กําลังใจ” ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะต้องเข้มแข็ง ไม่ท้อแท้ พร้อมกันนี้ก็ได้รับพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น งดสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็ง ช่องปาก และกล่องเสียง ควรรับประทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวัน ไม่ควรรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจําเจ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน ซึ่งมีความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งโพรงมดลูก อาหารที่มีกากน้อย เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่ อาหารหมักดอง อาหารรมควัน ปลาแห้ง เค็ม เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร
การอักเสบและการติดเชื้อ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น การอักเสบในช่องคลอด และปากมดลูกจากเชื้อเริม ทําให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อไวรัสอักเสบชนิดบี มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากหรือ มีบุตรมาก จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก การดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร ช่องปาก ลําคอ กล่องเสียง และลุกลามกลายเป็นมะเร็งตับ นอกจากนี้ปัจจัย จากสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง อาทิ รังสี และแสงแดด มีผลต่อเซลล์ต่างของร่างกายที่ไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดมะเร็ง ผิวหนัง สารเคมีจากอุตสาหกรรม ผู้ที่กินยาหม้อหรือยาแผนโบราณ ที่เป็นสารหนู ทําให้ผิวหนังแห้ง และกลายเป็นมะเร็งได้
เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ดังที่กล่าวมา และเมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ให้รีบไป พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาเสียงแต่เนิ่น ๆ มะเร็ง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคร้าย ก็จะไม่เป็นโรคที่น่ากลัวอีกต่อไป
สุรางค์ ศรีบุญเรือง