เสี่ยงอยู่หรือเปล่ากับเบาหวาน
น้ำตาลแม้ว่าจะเป็นประโยชน์มากมายแต่ก็สร้างปัญหาให้กับสุขภาพได้เช่นกัน ถ้าการบริโภคน้ำตาลอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทําให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จนก่อให้เกิด “โรคเบาหวาน”
โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญ น้ำตาลให้เป็นพลังงานแล้วสะสมไว้ตามปกติ ทําให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงกว่าปกติ น้ำตาลส่วนเกินนี้ถูกขับออกจากร่างกายทางไต มาอยู่ในปัสสาวะ ทําให้ปัสสาวะมีน้ำตาลสูงและมีรสหวาน เรียกว่า “เบาหวาน” คนที่อยู่ในภาวะปกติจะมีน้ำตาลในเลือดประมาณ 70-110 มิลลิกรัมต่อจํานวนเลือด 100 ซีซี เมื่อใดระดับน้ำตาล ในเลือดเกิน 140 มิลลิกรัม ต่อจํานวนเลือด 100 ซีซี จัดว่าเป็น “โรคเบาหวาน”
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อย และมีโอกาสพบได้มากขึ้นตามอายุ ส่วนสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน เกิดได้จากหลาย ปัจจัยร่วมกัน แต่ที่สําคัญคือ กรรมพันธุ์และความอ้วน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีญาติสายตรงคือบิดามารดาพี่น้องคนใดคนหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน บุคคลนั้นอาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 6-10 เท่า สําหรับปัจจัย เสริมที่ทําให้แต่ละคนมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากขึ้น ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงบ่อยๆ ไขมันในเส้นเลือดสูง การใช้ยา ประเภทสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกวิธี ผู้ที่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติ มีภาวะของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เคยมีประวัติการคลอดบุตร มีน้ำหนักตัวเด็กแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม ผู้ที่อยู่ในภาวการณ์ดังกล่าว จึงจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น เบาหวาน ควรใส่ใจและสังเกตอาการที่จะนําไปสู่โรคเบาหวาน อาการที่น่าสงสัยคือ กระหายน้ำและดื่มน้ำจํานวนมากบ่อยครั้ง ปัสสาวะบ่อย ทั้งกลางวันและกลางคืน คราวละมากๆ เมื่อตั้งทิ้งไว้ จะมีมดขึ้น หิวบ่อย กินแต่น้ำหนักลดลง อ่อนเพลีย เป็นแผลหรือ ง่ายแต่หายยาก คันตามผิวหนัง และบริเวณอวัยะสืบพันธุ์
ผู้ที่มีอาการบอกเหตุเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หรืออาจจะยังไม่มีอาการใด ๆ แต่มีอายุกว่า 40 ปี ควรไปรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ การเตรียมตัวเพื่อไปตรวจโรคเบาหวาน ควรงดอาหารข้ามคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ดื่มน้ำเปล่าได้ แล้วไป เจาะเลือดเวลาเช้า หลังเจาะเลือดแล้วจึงจะรับประทานอาหารได้
การตรวจในครั้งแรกหากไม่พบภาวะเบาหวาน อย่าเพิ่งวางใจ ควรตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมกับการตรวจร่างกาย ประจําปี สําหรับผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน อาจจะตรวจภาวะเบาหวาน 3 ปีต่อครั้ง หรือเร็วกว่านั้นก็ได้ถ้ามีอาการของภาวะเบาหวาน
การละเลยต่อโรคเบาหวาน โดยไม่ไปรับการรักษาหรือไม่ได้ รักษาอย่างถูกวิธี จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายคือ กระจกตาเสื่อมและบอดในที่สุด ไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด ประสาทอักเสบทําให้มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า ปัสสาวะลําบาก หมดความรู้สึกทางเพศ เมื่อเป็นแผลจะหายยาก เนื่องจากการติดเชื้อง่าย แผลจะลุกลามรุนแรงจนกลายเป็นเนื้อตายที่จะต้องถึง กับตัดอวัยวะส่วนที่เกิดแผลนั้นทิ้งไป
ไม่ว่าท่านจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ก็ตาม โปรดอย่าประมาท หรือละเลยต่อสุขภาพ ควรเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งผักผลไม้ไทยหลายอย่างตาม ฤดูกาลที่ให้คุณค่าของสารอาหาร โดยยึดหลักการรับประทาน อาหารหลัก 5 หมู่ ให้ครบในแต่ละวัน โดยลดอาหารจําพวก แป้ง ไขมันของหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลงบ้าง แบ่งเวลา เพื่อการออกกําลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนได้ แล้วยังช่วยการ ไหลเวียนของเลือด และลดความเครียดได้อีกทางหนึ่ง การดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอยู่แล้วให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยให้ ไม่เป็นโรคเบาหวานแล้ว ท่านยังไม่เสี่ยงต่อโรคอื่นๆ อีกด้วย
ข้อมูลจาก : คู่มือโรคเบาหวาน สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
โดย ศ.น.พ.สุนทร ตัณฑนันทน์ และ รศ.วลัย อินทรัมพรรย์ : สถาบันพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุข : ความรู้และการดูแลตนเองเรื่องโรคเบาหวานสําหรับประชาชน โดย ดร.ประพิณ วัฒนกิจ
จารุณี ชัยชาญชีพ