ภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากในสังคมเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่สังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ทําให้การใช้ชีวิตดําเนินไปด้วยความเร่งรีบ การทํางานต้องแข่งขันกับเวลา และการเดินทางไปมา ที่ต้องเสียเวลานานอยู่บนท้องถนน ทําให้เกิดความเครียดตามมา ประกอบกับการละเลย หรือไม่มีเวลาที่จะออกกําลังกาย การรับประทานอาหารประเภท Junk Food ซึ่งเป็นอาหารที่มีแป้ง เป็นหลัก ทําให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ถูกส่วน ก่อให้เกิดไขมันส่วนเกิน ตามมาด้วยโรคอ้วน นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่เค็มจัด ทําให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป การสูบบุหรี่และ ดื่มสุรา จนเป็นนิสัย เหล่านี้ล้วนมีผลทําให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ทั้งสิ้น
ความดันโลหิต (blood pressure) ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง ความดันโลหิตที่วัดจากหลอดเลือดแดง โดยมีสองค่าคือ ค่าบน หรือที่เรียกว่า ความดันซิสโตลิก (Systolic blood pressure) และ ค่าล่างที่เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure) เมื่อกล่าวถึงความดันโลหิต จึงต้องมีสองค่า เช่น 120/80 หมายถึง ค่ายนวัดได้ 120 และค่าล่างวัดได้ 80 โดยทั่วไป อาจจะถือว่าความ ดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 แสดงว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ความ ดันโลหิตยิ่งสูงยิ่งเป็นอันตราย
จากการสํารวจสุขภาพอนามัยของประชาชนในปี พ.ศ. 2534 เพื่อหาว่ามีผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง (ค่าสูงกว่า 160/95) พบว่าใน กรุงเทพมหานครมีผู้เป็นความดันโลหิตสูง ชาย 8.5% หญิง 6.1%
ในภาคกลาง ชาย 10.8% หญิง 12.6% ในภาคเหนือชาย 3.2% หญิง 3.3% และภาคใต้ ชาย 3.2% หญิง 3.7%
การรักษาความดันโลหิตสูงนั้นมีหลายวิธี ทั้งวิธีการใช้ยา และไม่ใช้ยา การรักษาความดันโลหิตสูงที่ไม่ต้องใช้ยานั้นเป็นการรักษาที่สําคัญ เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในตัวของมันเองแล้ว ยังช่วยเสริมการรักษาแบบใช้ยาให้ได้ผลที่ดีขึ้นด้วย การรักษาโดย วิธีการไม่ใช้ยา ได้แก่
การออกกําลังกาย จะทําได้หลายอย่าง เช่น การวิ่ง การเดินเร็ว การว่ายน้ํา ในระหว่างที่ออกกําลังกายความดันโลหิตจะ สูงขึ้น เพราะหัวใจเต้นเร็ว แต่จะค่อย ๆ กลับสู่ภาวะปกติเมื่อ หยุดพัก ผู้ที่ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอจะมีความดันโลหิตใน ขณะที่พักต่ํากว่าปกติเล็กน้อย และต่ํากว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกําลังกาย อย่างสม่ําเสมอ นอกจากนั้นการออกกําลังกายยังเป็นวิธีการคลาย
เครียดที่ดี และเป็นทางออกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่
การลดน้ำหนักตัว ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินจําเป็น จะต้องมี การลดน้ําหนัก การลดน้ำหนักลงจะทําให้ระดับความดันต่ำลงได้
การหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม พยายามกินอาหารที่มีโซเดียมต่ำ แต่มีโปแตสเซียมสูง โดยเฉพาะผลไม้ทุกชนิดที่มีรสเปรี้ยว และ อาหารประเภทถั่ว
การงดดื่มสุรา พบว่าผู้ที่ดื่มสุราเกินกว่า 2 ออนซ์ต่อวัน จะมีความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
การคลายเครียดและการผักผ่อน ความเครียด อาการโกรธ และอาการหดหู่ ทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จึงไม่ควรคร่ําเคร่งกับงานมากจนเกินไป ระหว่างงานเมื่อถึงเวลาพักก็ควรพัก การที่ได้พักผ่อนในวันหยุดโดยการออกไปท่องเที่ยว หรือการได้ทํากิจกรรม งานอดิเรกที่ตนเองชื่นชอบจะทําให้ร่างกายผ่อนคลาย ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ําลงได้ นอกจากนี้การฝึกจิตหรือฝึกสมาธิ ก็ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ความดันโลหิตลดต่ำลงได้
น.พ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ
สํานักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข