ปวดหัวไมเกรน

ปวดหัวไมเกรน อาการ และการรักษา

โรคปวดศีรษะไมเกรน

โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นโรคเรื้อรังและไม่มียารักษาให้หายขาด ก่อให้เกิดความหงุดหงิดและประสิทธิภาพในการทํางานลดลง

ในประชากร 100 คน จะมีคนที่เป็นโรคนี้ประมาณ 5 คน และ พบว่ามีประวัติว่าญาติพี่น้องก็เป็นโรคนี้เช่นกัน โรคปวดศีรษะไมเกรน มักเป็นในผู้หญิงและเริ่มเป็นในวัยเด็กหรือวัยรุ่น แล้วเป็นต่อเนื่องไป แบบเป็นๆ หายๆ น้อยรายที่มาเริ่มเป็นไมเกรนตอนสูงอายุ

สาเหตุของโรคนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเซอโรโตนินในสมอง และความผิดปกติของ ระบบประสาท และเส้นเลือดในสมอง

บางรายที่ช่างสังเกต จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้ว่า ถ้าอยู่ในสภาวะบางอย่างแล้ว โรคไมเกรนจะโผล่มาเยือนทุกที เช่น ใกล้ มีหรือกําลังมีรอบเดือน เครียด อดนอน หรือนอนมากเกินไป อากาศร้อน แดดจัด ดื่มไวน์ กินขนมที่มีช็อกโกแลต กินยา คุมกําเนิด กินยาลดความดันที่ชื่อรีเซอร์ปีน ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยสังเกต จนทราบถึงสภาวะที่แน่ชัด ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ให้หลีกเลี่ยงเสีย แต่อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีสภาวะกระตุ้นดังกล่าว เช่น ไม่เครียด พักผ่อนเพียงพอ แต่ก็พบว่าไมเกรนยังอาจกําเริบได้เช่นกัน

อาการของโรคมี 4 ระยะ

ระยะแรก เป็นระยะเตือน มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และระบบประสาท เช่น หงุดหงิด ซึม เซ็ง คึกคักผิดปกติ ตึงต้นคอ หน้าซีด ทนต่อแดดจัดหรือเสียงดังมากไม่ได้ ฯลฯ พบในผู้ป่วยประมาณร้อยละ 40 ระยะนี้จะนําหน้าก่อนปวดศีรษะราว 1-3 ชั่วโมง หรือบางราย 1-2 วัน

ระยะสอง เป็นระยะมีอาการทางระบบประสาท พบใน ผู้ป่วยบางราย มักพบความผิดปกติทางสายตา เช่น ตาพร่า ตาลาย เห็นแสงวูบวาบ ตามดชั่วขณะ ชาปาก ชามือ ฯลฯ อาการเป็น ชั่วครู่แล้วทุเลาไป เข้าสู่ระยะสาม

ระยะสาม เป็นระยะปวดศีรษะ อาจปวดข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ปวดตับ ๆ หรือปวดตื้อ ๆ หรือแบบบีบรัดก็ได้ แต่ลักษณะ ที่สําคัญคือ ปวดย้ายที่หรือย้ายข้างบ่อย อาการปวดจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดสุด ๆ ใน 1 ชั่วโมง มักปวดที่ขมับ หรือหน้าผาก ระยะนี้จะ มีอาการสําคัญร่วมด้วยเสมอ คือ คลื่นไส้และอาเจียน

ระยะสี่ หลังอาการปวดศีรษะบรรเทาไปแล้ว จะอ่อนเพลีย เปลี้ย หงุดหงิด เป็นอยู่ 1 ชั่วโมง ถึง 2 วัน

การรักษา ให้ใช้ยาระงับปวด เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน หรือยากลุ่ม NSAID บางรายอาจใช้ยากลุ่มที่มี Ergot ซึ่งควรกินตอนที่ยังปวดไม่มาก และไม่ควรกินติดต่อกัน เป็นเวลานาน การใช้ยานอนหลับ ยากลุ่มปิดกันเบต้า ปัจจุบันมียาใหม่คือ Sumatriptan แบบฉีด หรือกิน ได้ผลระงับปวดได้ดี แต่ราคาแพงมาก การรักษาและปฏิบัติตนแบบอื่น ๆ เช่น โยคะ ทําสมาธิ การฝึกผ่อนคลายการฝังเข็ม การออกกําลังกายเป็นประจํา แม้ไม่สามารถทําให้โรคหายขาดได้ แต่ก็ช่วยให้อาการ ปวดบรรเทาลง หรือทําให้โรคไม่กําเริบบ่อยๆ ได้

โรคนี้ไม่เคยทําให้ใครเสียชีวิตได้ แม้จะปวดศีรษะรุนแรง แค่ไหนก็ตาม ดังนั้น ผู้ป่วยควรเลิกกังวลซ้ําซาก เพราะความกังวลนี้ แหละจะทําให้โรคไมเกรนกําเริบขึ้นบ่อยๆ ถ้าแพทย์วินิจฉัย ชัดว่าเป็นไมเกรนแล้ว ก็ควรปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ไม่ควรดิ้นรนตระเวนรักษา เปลี่ยนแพทย์ เปลี่ยนโรงพยาบาลไปเรื่อย ๆ เพียงมุ่งหวังจะเจอเทวดาที่มียารักษาให้หายขาด หรือความพยายามที่จะ ขอตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สมอง ซึ่งเป็นเรื่องไม่จําเป็น ทั้งยังทําให้เสียเวลา และเสียเงินทองโดยใช่เหตุ

น.พ.วชิร รุจิโมระ ร.พ.พระนั่งเกล้า นนทบุรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.