ไข้เลือดออก…ยุงร้ายกว่าเสือ
เป็นที่น่าสังเกตว่าในปีที่ผ่านมานี้ โรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่เราเคยรู้กันว่าเกิดกับเด็กเล็กได้เกิดกับเด็กโต เด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่มากขึ้น อีกทั้งยังมิได้เกิดการแพร่ระบาดเฉพาะฤดูฝน เท่านั้น แต่ยังคงมีการระบาดอยู่จนถึงช่วงฤดูหนาว แล้วที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยง 3 ประการ คือ ภูมิคุ้มกันของเด็กกลุ่มดังกล่าวลดลง ตัวสายพันธุ์ของเชื้อเพิ่ม ความรุนแรงขึ้น เป็นเชื้อไวรัสชนิด 3 และการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศที่ทําให้เกิดฝนล่า ทําให้มีฝนชุกในที่แล้ง ฝนแล้งในที่เคยชุก เกิดการกระจายของแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทําให้มียุงชุกชุม มากขึ้น
ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 18 ธันวาคม 2540 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศถึง 77,115 คน ในจํานวนนี้เสียชีวิต 178 คน คิดเป็นอัตราป่วย 128 ต่อประชากรแสนคน และอัตราตาย 0.30 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยในทุกจังหวัดทุกภาค และเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คนไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตําบลใด มีฐานะเศรษฐกิจอย่างไร ล่าสุดก็ยังมีนักศึกษาวิทยาลัยสาธารณสุขในจังหวัดทางภาคใต้ เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกเช่นกัน
ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกคนจะต้องตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคไข้เลือดออก และช่วยกันป้องกันแพร่ระบาดของโรคนี้โดยกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ปิดฝาตุ่มน้ำ โอ่งน้ำอยู่เสมอ หมั่นตรวจตราอ่าง แจกัน จานรองกระถางต้นไม้ และอื่นๆ อย่าให้ภาชนะเหล่านี้เป็นแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลายได้ เก็บหรือทําลายเศษวัสดุทุกชนิดตามบริเวณบ้านที่จะทําให้มีน้ำขังอยู่ได้ จานรองขาตู้กับข้าวให้ใส่เกลือหรือ ผงซักฟอก แจกันดอกไม้ควรเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ เลี้ยงปลาในอ่างบัว เช่น ปลาหางนกยูงเพื่อกําจัดลูกน้ำ เป็นต้น
นอกจากนี้โรงเรียน ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่มีความสําคัญ เพราะเด็กใช้ชีวิตเวลากลางวัน ส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียน ครูควรดูแลไม่ให้เด็กถูกยุงกัด ไม่ควรให้ เด็กเล่นในที่มืด หรือบริเวณมุมอับที่เป็นแหล่งเกาะพักของยุงลาย รวมทั้งต้องกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยเช่นเดียวกัน
แม้ว่าเราจะมีการป้องกันเป็นอย่างดีไม่ให้ยุงกัดแล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าจะปลอดจากยุงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อ และเจ็บป่วยได้
อาการของโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับไข้หวัด คือมีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาจมีอาการอาเจียน แต่ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่าโรคนี้ต่างจากไข้หวัดตรงที่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีน้ำมูก ไม่ค่อยไอ และมีไข้สูงชนิดที่เห็นได้ชัดว่าตัวร้อนจัดมาก ในช่วงที่ใข้สูง 2-3 วันแรก จะไม่มีอันตราย การเช็ดตัวลดไข้มีความจําเป็นมาก อาจใช้ยาลดไข้พวกพาราเซตามอล นอกจากนี้ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ น้ำผลไม้ หรือสารละลายน้ำตาล เกลือแร่ โดยให้ดื่มครั้งละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายได้น้ำชดเชยอย่างเพียงพอ ประมาณวันที่ 3-4 ของการป่วย ไข้จะลดลง ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายมาก เพราะผู้ป่วยจะนิ่งนอนใจว่าไข้ลดแล้ว อาจละเลยการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ระยะนี้อาจทําให้ผู้ป่วยถึงกับช็อกพร้อม ๆ กับไข้ลด ผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น และหมดสติจนถึงตายได้ ข้อสังเกตอีก อย่างหนึ่งของผู้ที่เป็นไข้เลือดออกคือ จะเบื่ออาหารแม้ไข้ลดแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมทานอาหาร แต่จะรู้สึกกระหายน้ำมาก และ ดื่มน้ำบ่อย
การสังเกตอาการเจ็บป่วยและหาความรู้ในการป้องกันโรค เป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวพึงกระทํา เพราะคงไม่มีใครที่จะเอาใจใส่ ห่วงใย และเดือดร้อนจากความเจ็บป่วยได้มากไปกว่า คนที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน และที่สําคัญโรงเรียนหรือชุมชน ควรดําเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ในการทําลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งจะช่วยป้องกันไข้เลือดออกได้
ชื่นสุข ฤกษ์งาม