แอร์มีกี่ประเภท

แอร์มีกี่ชนิด มีกี่แบบ และแตกต่างกันอย่างไร

คุณทราบไหมว่า แอร์มีกี่ชนิด กี่แบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร เป็นเรื่องยุ่งยากมากๆ สำหรับคนที่ต้องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแต่ก็ไม่ทราบว่า จะใช้ขนาดไหนดี เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของห้องแต่ละห้องภายในบ้าน

แอร์มีกี่ชนิด กี่แบบ และต่างกันอย่างไร

…..มีคำถามว่า เจ้าเครื่องปรับอากาศที่เราใช้อยู่ในบ้านเรานี้มีกี่อย่าง กี่ชนิด กี่ระบบ ก็ขอแยกย่อยโดยสังเขป เป็น 3 แบบดังนี้

…..1. แบบติดหน้าต่าง(Window Type) เป็นแบบที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในกล่องๆ เดียว และติดแขวนไว้ที่ช่องหน้าต่างหรือผนังห้อง เป่าลมเย็นเข้าห้อง โผล่กันออกมาระบายความร้อน มีขนาด 8,000-30,000BTU หรือรู้จักกันคือ .7-2.5ตัน(ใหญ่กว่านี้ทำไม่ได้เพราะเครื่องจะใหญ่และหนักเกินไป ติดตั้งแล้วช่องหน้าต่างหรือผนังห้องจะรับน้ำหนักไม่ไหว) กินไฟค่อนข้างมาก และมีเสียงดังกว่าทุกระบบ แต่สะดวกในการติดตั้ง สะดวกในการเคลื่อนย้าย

…..2 .แบบแยกส่วน (Split Type) เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แยกส่วนเป่าลมเย็นออกจากตัวเครื่องระบายความร้อน ขนาดตั้งแต่ 1-50 ตัน (ขนาด 1-3 ตัน มักไม่มีการต่อท่อลมไปจ่ายหลายๆ จุด แต่หากมากกว่านั้น อาจมีการต่อท่อลมออกจากส่วนเป่าลมไปไปจ่ายหลายๆ จุด) แอร์ระบบแยกส่วนนี้ ดีตรงที่ไม่ค่อยมีเสียงดัง (เพราะเครื่องระบายความร้อน แยกออกไปวางไว้ที่อื่น) แต่จะยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบติดหน้าต่าง เพราะต้องคำนึงถึงการเดินท่อระหว่างเครื่องที่แยกส่วน… ที่สำคัญอย่าลืมท่อระบายน้ำจากที่เป่าลมเย็น (Fan Coil) ไปทิ้งด้วย

…..3. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น (Water Chiller) ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวกลางในการผลิตความเย็น ใช้สำหรับอาคารใหญ่ๆ มีขนาดตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป มีความยุ่งยากในการติดตั้ง แต่จะกินไฟน้อยกว่าชนิดอื่นๆ … สถาปนิกและวิศวกรโครงสร้าง ผู้ออกแบบเริ่มต้นกรุณาอย่าลืมที่จะจัดเตรียมห้องเครื่อง และโครงสร้างที่แข็งแรงเพียงพอ เพื่อวางระบบนี้ด้วย

…..สำหรับแอร์ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า Central Air นั้น ส่วนใหญ่จะหมายถึงแอร์ระบบสุดท้าย เพราะมีจุดเครื่องระบายความร้อนจุดเดียว แต่ส่งผ่านไปหลายจุดทั่วทั้งอาคาร แต่บางครั้งแอร์ระบบ Split Type ใหญ่ๆ ที่ส่งลมเย็นไปได้หลายๆ จุดก็อาจจะเรียกว่าเป็น Central Air ได้เหมือนกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.