อาหารเป็นพิษ
จากข่าวเด็กนักเรียนนับร้อยคนถูกนําส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลในกลางดึก ด้วยอาการเดียวกันคือท้องร่วง และปวดท้องมาก แพทย์เวชสงสัยว่าเกิดจากอาหารเป็นพิษ สอบถามจึงทราบว่าทั้งหมดเป็นนักเรียนประจํา มื้อกลางวันทุกคนทาน ก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัว ซึ่งทราบภายหลังว่าก่อนปรุงแม่ครัวไม่นําเนื้อวัวเข้าตู้เย็นเสียก่อน และวิธีปรุงก็ไม่ลวกให้เนื้อสุกทั่วถึง
อาหารเป็นพิษ มีทั้งแบบเป็นพิษตามธรรมชาติในตัวของมัน เอง เช่น เห็ดพิษ และที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ เช่น อาหารที่ มีสารเคมีตกค้าง หรืออาหารที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะอาหารเป็นพิษที่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำให้ลำไส้อักเสบ
พอกล่าวถึงอาหารเป็นพิษแล้ว คงมีบางคนที่นึกด้านในใจว่า ปกติก็ไม่เคยพิถีพิถันเรื่องความสะอาด แทบทุกมื้อก็กินอาหารตามรถเข็นริมทางเท้า ไม่เห็นจะเคยเจ็บป่วยด้วยโรคนี้เลย ก็อาจจะจริงอยู่เพราะกลไกการเกิดโรคต้องมีปัจจัยครบถ้วน ทั้งจากตัวเชื้อโรค และสุขภาพของเราเอง ดังนั้นแม้มีความเสี่ยงในการเกิดโรค แต่ถ้าปัจจัยไม่ครบ ท่านก็อาจโชคดีที่รอดพ้นจากการเจ็บป่วยไปได้
ปัจจัยจากตัวเชื้อโรค ต้องรับไปด้วยปริมาณมากพอจึงเกิดโรค ในด้านสุขภาพของเราถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดีพอ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กเล็ก หรือคนชรา จะป่วยได้ง่ายกว่า ปัจจัยเรื่องความเป็นกรดในกระเพาะ ก็สําคัญมาก ปกติแล้วกรดในกระเพาะจะคอยทําลายแบคทีเรีย ปนเปื้อนในอาหารที่เรากลืนผ่านลงไป ดังนั้นถ้ามีกรดน้อยไป เช่น ผู้ที่กินยาลดกรดติดต่อกันนาน ๆ ก็จะทําให้แบคทีเรียที่ผ่านลงไป เพิ่มจํานวนได้มาก นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวบีบตัวของลําไส้อย่างเชื่องช้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือกินยาบางชนิดที่ทําให้ลําไส้เคลื่อนไหวช้า ส่งผลให้แบคทีเรียมารวมตัว แพร่จํานวนได้ง่าย ปัจจัยสุดท้ายคือพบว่าในบางภาวะจะมีจํานวนน้อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หรือผู้ที่กินยาปฏิชีวนะติดต่อกัน นาน ๆ ถ้าต้องเจอกับแบคทีเรียภายนอก ซึ่งมีมากกว่า ก็อาจเกิดโรคขึ้นได้
อาหารเป็นพิษ อาจเกิดจากตัวเชื้อโรคโดยตรง หรือสารพิษ ที่มันปล่อยออกมา มีหลายสาเหตุ เช่น เชื้อสแตพ ออเรียส (Stap. aureus) ซึ่งปกติอยู่ตามผิวหนังคน ถ้าแม่ครัวมีบาดแผลที่มือก็จะแพร่เชื้อลงไปในอาหารได้ หรือจากเชื้อคอสเตรเดียม เพอฟริแกนส์ (Clostridium Perfringens) มักพบในอาหารประเภทเนื้อที่ไม่นําเข้าตู้เย็น สปอร์ของเชื้อจะเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็ว และเมื่อนํามาปรุงอาหารโดยไม่ทําให้สุกเพียงพอ ก็จะเกิดอาหารเป็นพิษทันที เชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ เช่น เชื้ออหิวาต์ ก็มีหนทางแพร่เข้าสู่ร่างกาย ได้ ในลักษณะคล้ายกัน คือ เตรียมอาหารไม่สะอาดพอ ทําให้เกิด อาการปวดท้อง ท้องร่วง หรืออาเจียน
การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ผงเกลือแร่ละลายน้ำดื่มทดแทน ถ้าร่างกายขาดน้ำมาก แพทย์จะพิจารณา ให้น้ำเกลือเข้าเส้น การใช้ยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะจะใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น โดยทั่วไปมักทุเลาใน 1-2 วัน กรณีที่ต้อง ระมัดระวังมากคือ ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก และคนชราหรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
การป้องกันถือเป็นหัวใจสําคัญที่สุด ผู้เตรียมอาหารต้องมีความรู้ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ด้านผู้บริโภคก็ต้องฝึกสุขนิสัยความสะอาดส่วนบุคคล และฉลาดรู้ที่จะ เลือกบริโภคแต่อาหารที่สะอาดเท่านั้น
“กินอาหารสุก พ้นทุกข์จากท้องร่วง”
น.พ.วชิร รจิโมระ ร.พ.พระนั่งเกล้า นนทบุรี