แกงเขียวหวานไก่
สูตรแกงเขียวหวานไก่ สูตรที่ 1
เนื้อไก่ 300 กรัม
มะพร้าวขูด 250 กรัม
มะเขือพวง 50 กรัม
มะเขือเปราะผ่าสี่ 50 กรัม
ใบมะกรูด 3 – 5 ใบ
น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ
โหระพาเด็ดเฉพาะใบ 1/ 2 ถ้วย
น้ำปลา 1 – 2 ช้อนโต๊ะ
1. หั่นเนื้อไก่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามยาว รวนในกระทะพอสุก ตักขึ้น พักไว้
2. คั้นมะพร้าว ใช้น้ำ 2 ถ้วย คั้นให้หัวกะทิ 1 ถ้วย หางกะทิ 1+1/ 2 ถ้วย
3. แบ่งหัวกะทิมาผัดกับน้ำพริกแกงให้หอม ค่อย ๆ ใส่หัวกะทิที่เหลือทีละน้อย ผัดให้แตกมันเล็กน้อย และหัวกะทิหมด จึงใส่ไก่ที่รวนไว้ ผัดให้เข้ากัน ปิดไฟ
4. ตักไก่ที่ผัดใส่ลงในหม้อ ใส่หางกะทิ ตั้งไฟ ให้เดือด ปรุงรสด้วยน้ำตาลปีบ น้ำปลา คนให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ แล้วจึงใส่มะเขือพวง มะเขือเปราะ พอเดือดอีกครั้งและมะเขือสุก ใส่ใบโหระพา ใบมะกรูด ปิดไฟยกลง
ส่วนผสมเครื่องแกง
พริกขี้หนูสวนสีเขียว 20 เม็ด
หอมแดง 5 หัว
กระเทียม 10 กลีบ
ข่าหั่นฝอย 1 ช้อนชา
ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูด 1/ 2 ช้อนชา
รากผักชี 1 ช้อนชา
พริกไทย 5 เม็ด
ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา
กะปิ 1 ช้อนชา
เกลือป่น 1 ช้อนชา
โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
เคล็ดลับอย่างหนึ่งในการทำแกงเขียวหวานไก่ก็คือ ควรจะรวนเนื้อไก่ก่อนที่จะนำไปปรุง เพราะเนื้อไก่มีน้ำอยู่มาก หากนำไปแกงทันที จะทำให้น้ำแกงใส และกว่าเครื่องแกงจะเข้าเนื้อ ก็ปรากฏว่าเนื้อไก่เปื่อยยุ่ยไปหมดแล้ว นอกจากนี้ถ้าอยากให้แกงเขียวหวานมีสีเขียวสวย เขาแนะนำว่าให้ใส่ใบพริกหรือใบตำลึงลงไปในน้ำแกงด้วย จะช่วยให้น้ำแกงมีสีเขียวน่ารับประทาน
สูตรแกงเขียวหวานไก่ (อกไก่) สูตรที่ 2
เครื่องปรุง
อกไก่หั่น 1 ถ้วย
หัวกะทิ 1 ถ้วย
กะทิกลาง 2 ถ้วย
น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนโต๊ะ
ใบโหระพา 10-12 ใบ
พริกเหลือง-แดงซอย 3 เม็ด
ใบมะกรูดฉีกกลาง 3 ใบ
มะเขือพวง 1/2 ถ้วย
เครื่องปรุงน้ำพริกแกง
พริกขี้หนู 10-15 เม็ด
หอมแดง 7 หัว
กระเทียม 7 กลีบ
ข่า 2 แว่น
ตะไคร้ 2 ต้น
ลูกผักชี ยี่หร่า 1 ช้อนชา
ผิวมะกรูด 1/2 ช้อนชา
กะปิ 1 ช้อนชา จะใส่ลูกผักชี ยี่หร่า โขลกน้ำพริกแกงก็หอมดี
วิธีทำ
โขลกน้ำพริกแกงเข้ากันจนละเอียดคั้นหัวกะทิ นำน้ำพริกลงผัดจนหอม ใส่ไก่ลงไปรวน ใส่ใบมะกรูดลงไปผัดจนหอม ปรุงรสน้ำปลา น้ำตาล ตั้งกะทิกลาง ใส่มะเขือพวงจนสุกใส่โหระพา พริกแดง ยกลง
สูตรแกงเขียวหวานไก่ สูตรที่ 3
เครื่องปรุงน้ำพริกแกงเขียวหวาน (สำหรับ ไก่ 500 กรัม)
พริกขี้หนูสดปลิดก้าน 20-25 เม็ด (ถ้าใช้พริกขี้หนูสวนเม็ดจิ๋ว ๆ ให้ใช้ทั้งก้าน) หอมแดงซอย 5 หัว
กระเทียมซอย 10 กลีบ
ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1/2 ช้อนชา
รากผักชีหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
พริกไทย 5 เม็ด
ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา
เกลือ 1 ช้อนชา
กะปิ 1 ช้อนชา
พูดถึงเรื่องแกงกะทิต่าง ๆ นี่เวลาทานมันอร่อยดีจัง ยิ่งทานกับขนมจีนนึ่งร้อน ๆ โฮะ..โฮะ..น้ำลายไหลติ๋ง ๆ แต่นึกถึงเวลาต้องทำเครื่องแกงนี่สิ แทบจะไม่อยากทำเอาเสียเลย ไหนจะเสียงดัง ไหนจะกระเด็นเลอะเทอะ ไหนจะเมื่อยแขน ว่ากันว่าเทคนิคการโขลกน้ำพริกนั้น จะต้องโขลกของแห้งแข็งก่อน แล้วจึงใส่ของที่มีน้ำหรือชื้นตาม เริ่มต้นก็เอาพริกแห้งแกะเมล็ดออกแช่น้ำจนนิ่ม บีบน้ำออกให้หมด ใส่ครกโขลกกับเกลือเม็ด โขลกจนละเอียด แล้วใส่บรรดาเครื่องเทศพวก ลูกผักชี ยี่หร่า รากผักชี ข่า ตะไคร้ และเครื่องอื่น ๆ ที่เหลือตามลำดับ ส่วนที่จะใส่ทีหลังสุดก็คือ หอมแดง เพราะมีน้ำมาก ถ้าใส่น้ำก่อนจะกระเด็นเปรอะไปหมด แถมยังทำให้เครื่องปรุงอื่น ๆ ไม่ละเอียดอีกด้วย
เคล็ดลับความอร่อยของคุณกัสซี่
วิธีตำเครื่องแกงของกัสซี่ มีการขี้โกงกันบ้างเล็กน้อย เริ่มตั้งแต่ กัสซี่จะซอยเครื่องปรุงสำหรับตำเครื่องแกง ให้มันชิ้นเล็กและบางที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นก็นำลงไปใส่เครื่องปั่น(ฺBlender) ปั่น ปั่น ปั่น มันสักสองสามจึ๊กก่อน แล้วก็เอามาตำต่อในครก เติมเกลือ เติมกะปิ ที่ทำอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าใช้เครื่องปั่นอย่างเดียว น้ำมันหอมของพวกเจ้าข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด พริก แล้วก็เครื่องเทศต่าง ๆ นี่มันจะไม่ออกมา ทำให้น้ำพริกไม่หอม การตำเครื่องแกงด้วยครก ช่วยให้เกิดความร้อน เครื่องแกงบางอย่างโดยเฉพาะพวกเครื่องเทศ เมื่อโดนความร้อนก็จะส่งกลิ่นหอมระเหยออกมา น้ำพริกที่ตำเองก็เลยมีกลิ่นหอมกว่าน้ำพริกที่ซื้อ อ้อ!เวลาแม่น้องสู้แกงก็อย่าลืมผัดเครื่องแกง กับหัวกะทิเสียก่อนนะจ๊ะ อย่าไปผัดกับน้ำมันเลย ไม่เห็นจะอร่อยสักนิด หัวกะทินี่แหละเด็ดสุด พอผัดเครื่องแกงได้ที่หอม ตลบไปสามบ้านแปดบ้านแล้ว จึงใส่เนื้อสัตว์ ใส่เครื่องปรุงรส ผัดให้เข้ากัน ใส่หางกะทิ ใส่ผัก พอผักสุก ก็ปิดท้ายด้วยการใส่พริกหั่นแฉลบ ใบโหระพา แล้วปิดไฟ ก็จะได้แกงอร่อย ๆแล้วจ้ะ
* ถ้าจะทำแกงเผ็ด ให้เปลี่ยนจากพริกขี้หนูสด มาเป็น พริกแห้งแกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 – 7 เม็ด แทน
* ถ้าเป็นสูตรโบราณ เขาจะใส่ ลูกกระวาน 5 ลูก ดอกจันทน์ 2 กลีบ เปราะชิ้นกลาง ๆ 1 ชิ้น ลงไปด้วย แล้วก็ลดลูกผักชีกับยี่หร่าให้เหลืออย่างละ 1 ช้อนชาเท่า ๆ กัน ที่ต้องใส่พวกนี้ลงไป น่าจะเป็นเพราะว่า แกงสมัยก่อน เค้าแกงกับเนื้อวัว มากกว่าแกงกับไก่หรือหมู ก็เลยต้องใส่พวกเครื่องเทศพวกนี้เข้าไปด้วย ช่วยลดความคาว และเพิ่มกลิ่นหอมให้แกง