วุ้นดอกบานชื่น (สูตรโบราณ)
วัตถุดิบ
วุ้น 1/2 ขีด
น้ำตาล 1 1/2 กิโลกรัม (ชนิดขาวอย่างดีที่ บรรจุอยู่ในถุง)
น้ำสีที่ทําจากพืชและผัก เช่น สีเขียวจากใบเตย สีแดงจากปิทรู้ท สีเหลืองจากฟักทอง หรือใช้สีผสมอาหารแทน
วิธีทํา
นําวุ้นมาแช่น้ำไว้ 15 นาที วุ้นจะนิ่ม ล้างวุ้นให้สะอาด สางวุ้นชิ้นนั่นให้เป็นฝอย (เวลาเคี่ยววุ่นจะได้ละลายเร็ว)
วุ้น 1 ถ้วยตวงต่อน้ำ 3 ถ้วยตวง เคี่ยววุ้นในกะทะทอง หรือหม้อเคลือบที่สะอาดใช้ไฟปานกลาง คอยคนอย่าให้วุ้นติดภาชนะ เมื่อวุ้นละลายให้เคี่ยวต่อไปอีก 10 นาที เทวุ้นที่เคี่ยวแล้วใส่ถาด ขนม ใช้ผ้าขาวบางรองเพื่อกรองหุ้นให้สะอาด ทิ้งวุ้นไว้ในถาดสัก 2 ชม. วุ้นจะแข็งตัว ตัดหุ้นในถาดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่ง คืนเพื่อให้ใส เมื่อแกะสลักเป็นดอกไม้จะทําให้สวย เพราะถ้าไม่แช่ น้ำวุ้นที่ได้จะขุ่น น้ำวุ้นที่แช่น้ำไว้หนึ่งคืนมาสับให้ละเอียด ใส่ลงใน ภาชนะเดิม น้ำ 3 ถ้วยตวง ไฟปานกลาง วุ้นละลายทั่วแล้วเคี่ยวต่อ ไปอีก 15 นาที จึงใส่น้ำตาลทราย ชิมดูให้รสหวานจัด หมั่นคนหุ้น อย่าให้ติดภาชนะ หรี่ไฟให้อ่อนลง คะเนดูว่าวุ้นเป็นยางมะตูม หยดสีลงไปเล็กน้อยคนให้ทั่ว ควรใช้สีอ่อนๆ ถ้าต้องการทําวุ่นหลาย ๆ สี แบ่งวุ้นใส่ภาชนะอีกใบแล้วจึงค่อยใส่สีตามต้องการ จากนั้นเทวุ้น ใส่ถ้วยตะไลสําหรับดอกขนาดเล็ก ถ้าต้องการดอกขนาดใหญ่ใช้ถ้วยขนาดเท่าดอกไม้จริง ควรใช้ถ้วยปากกว้างกว่าฐานรูปทรงคล้ายถ้วย น้ำพริก หรือจะเทปูนใส่ถาดขนมให้สูงประมาณ 2 ซ.ม. ทิ้งไว้ 2 ชม. ครึ่ง วุ้นจะแข็งตัว ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสประมาณ 1 1/2 นิ้ว เพื่อนํามาแกะสลัก
วิธีแกะสลักวุ้นเป็นรูปดอกไม้และใบไม้
นําวุ้นที่แข็งตัวแล้วมาแกะสลัก จะให้เป็นดอกไม้ชนิดใดก็ได้ เช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกบานชื่น หรือใบไม้ โดยใช้เครื่อง มือคล้ายเครื่องสลักผักขนาดเล็กบาง ๆ และละเอียดกว่าเครื่องมือ แกะสลักผักทั่วไป หรือจะใช้มีดคว้านก็ได้ แต่การแกะสลักดอก กุหลาบจําเป็นต้องใช้มีดคว้านอย่างเดียว วิธีแกะสลักวุ่นมีวิธีการ เช่นเดียวกับการแกะสลักทั่วไป แต่เนื่องจากวุ้นเป็นของนิ่ม กลีบจึง หักง่ายมาก ผู้แกะสลักจําเป็นต้องใช้ความประณีตอย่างมากที่จะ ระวังกลีบดอกไม้ไม่ให้หลุดจากกันซึ่งขึ้นอยู่กับความชํานาญ เมื่อได้ วุ้นเป็นรูปดอกไม้และใบไม้แล้ว จัดใส่ภาชนะเรียงเป็นรูปช่อดอกไม้ หรือจะเรียงเป็นแถวก็ได้ เสิร์ฟเป็นของหวานรับประทานได้เลย ถ้า ต้องการให้เป็นวุ้นกรอบเป็นเวลา 3-4 วุ้น วุ้นจะขึ้นเกร็ดน้ำตาล กลายเป็นวุ้นกรอบ เก็บไว้รับประทานได้นานเป็นเดือน
สําหรับเศษวุ้นที่เหลือจากการแกะสลักน้ำขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ เคี่ยวใหม่แล้วเทใส่ถ้วยสําหรับแกะดอกต่อไป
สีที่นิยมสําหรับวุ้นแกะสลักนี้นิยมใช้สีขาว (หมายถึงเพชร) สีชมพู (ทับทิม) สีเขียว (มรกต) และสีเหลือง (บุษราคัม) ซึ่งถือ เป็นสิริมงคล ใช้อวยพรวุ้นปีใหม่หรืองานต่าง ๆ