ดูแลเด็กเมื่อเป็นไข้
เมื่อเอ่ยถึง “ไข้หวัด” เราจะไม่ค่อยรู้สึกว่าโรคนี้ร้ายแรงเท่าใดนัก เป็นเพียงโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นแล้ว ก็มักจะหายไปเองในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่สําหรับไข้หวัด ที่มีการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือที่เรียกว่า อินฟลูเอ็นซาไวรัส (Influenza Virua) แล้ว อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา
จากรายงานของสํานักนโยบายและแผนฯ กระทรวง สาธารณสุข พบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของ กระทรวงสาธารณสุขเป็นโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อ เฉียบพลันถึง 119,962 คน คิดเป็นอัตราป่วย 223.39 ต่อประชากร แสนคน ซึ่งเป็นตัวเลขเฉพาะที่ได้รับรายงานเท่านั้น คาดว่าจํานวนผู้ป่วยจริงจะสูงกว่านี้มาก นอกจากนี้ รายงานของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี พ.ศ. 2540 มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ถึง 49,701 คน ตาย 1 คน อัตราป่วย 12.71 ต่อประชากรแสนคน
จากรายงานดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อระบบทางเดือนหายใจส่วนบนที่พบได้บ่อย ดังนั้น หากเราทุกคน โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็ก ถ้ามีความรู้ เข้าใจสาเหตุและอาการแสดงออกโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ และ รู้วิธีการป้องกันโรคนี้แล้ว เชื่อว่าจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค แทรกซ้อนที่เป็นอันตรายลงได้
เด็ก ๆ มักจะเป็นหวัดได้ง่ายและบ่อยกว่าผู้ใหญ่ มีไวรัส ที่ทําให้เด็กเป็นหวัดได้มากถึง 200 ชนิด โดยเฉพาะเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่มีภูมิต้านทานเชื้อไข้หวัด แต่ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโต ก็จะมีอาการของไข้หวัดที่ไม่แตกต่างกันจะ ต่างกันที่การดูแลรักษาเท่านั้น โดยอาการของไข้หวัดเริ่มจาก เป็นไข้ มีน้ำมูกใส ๆ และมีอาการคัดจมูก ในบางรายอาจมีอาการ ไอ จาม ร่วมด้วย ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่อาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยไข้จะขึ้นสูงทันทีทันใด มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเพียงเล็กน้อย มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัวมากกว่าไข้หวัด มีอาการเบื่อ อาหาร เป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษา อย่างถูกต้องอาการก็จะทุเลาลง
เด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่มักจะ ร้องไห้งอแง พ่อแม่จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดเมื่อ มีไข้สูงให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้ ไม่ควรปล่อยให้ไข้ขึ้นสูง เพราะเด็กในวัย 6 เดือนถึง 6 ปี สมองอยู่ในช่วงที่กําลังเจริญเติบโตจึงไวต่อการ ถูกกระตุ้น เกิดอาการชัก ทําให้สมองขาดออกซิเจนและเสื่อมสภาพ ส่งผลเสียต่อเด็กเมื่อโตขึ้น
การดูแลเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัด เมื่อเด็กมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก ควรใช้ลูกยางช่วยดูดน้ำมูกออก เพื่อบรรเทาอาการ ช่วยให้เด็กได้พักผ่อนและดูดนมได้สะดวก ควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดตามมา พ่อแม่ต้องสังเกต เมื่อลูกเป็นหวัด และมีไข้สูงมาก (เกิน 38.5 องศา) เช็ดตัว อย่างไรไข้ก็ไม่ลด หายใจเสียงดัง หายใจหอบจนหน้าอกและ ซี่โครงปุ่ม มีอาการซึมแสดงถึงสัญญาณอันตรายของโรค แทรกซ้อนที่อาจทําให้เด็กเสียชีวิตได้ เมื่อเด็กมีอาการดังกล่าว
ไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบนําเด็กไปโรงพยาบาลโดยด่วน
การดูแลเด็กเมื่อเป็นไข้หวัด ให้ปฏิบัติโดยการเช็ดตัว เพื่อลดไข้ และให้ยาลดไข้ และให้ยาลดไข้เมื่อจําเป็น ดูแลร่างกายให้อบอุ่นเสมอนอนพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ ถ้าเด็ก เบื่ออาหาร ให้รับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำแกงจืด น้ำข้าวต้ม น้ำผลไม้ จะทําให้เด็กรู้สึกสดชื่น และฟื้นตัวได้เร็ว ควรอยู่ในอากาศที่บริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด เพราะเด็กอาจได้รับเชื้อเพิ่ม หรือตัวเด็กเองอาจเป็นผู้แพร่เชื้อหวัดสู่ผู้อื่นได้
ไข้หวัด ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงการรับเชื้อหวัดจากผู้อื่น โดย เฉพาะสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก โอกาสจะติดเชื้อหวัด มีสูง ส่งเสริมให้เด็กดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านอาหารการกิน อากาศ การออกกําลังกาย ซึ่งเป็น ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้เด็กมีสุขภาพดี ป้องกันการแพร่กระจาย ของเชื้อหวัด โดยการปิดปากและจมูกทุกครั้งเมื่อไอ หรือจาม สุขนิสัยเหล่านี้ควรปลูกฝังตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยเยาว์
กันยารัตน์ กุยสุวรรณ