ชายวัยทอง ที่ไร้เทียมทาน
โดยทั่วไปเรามักจะเข้าใจกันว่า ผู้หญิงที่อยู่ในวัยระหว่าง 40-50 ปี เท่านั้น ที่ภาวะทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสภาพ ทางสังคมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความจริงแล้วอาการที่ว่านี้ใช่ว่าจะ เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แม้แต่ผู้ชายที่อยู่ในช่วงวัยดังกล่าว ก็มีอาการเช่นเดียวกัน เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงทางด้านสมรรถนะของผู้ชายจะช้ากว่าในผู้หญิง เนื่องจากสาเหตุและปัจจัย พื้นฐานหลายประการ เช่น ผู้ชายมักจะออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ ทําให้สภาพกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง หย่อนยานได้ช้ากว่าปกติ หรือมีกิจกรรม งานอดิเรกที่นอกเหนือจากงานประจํา ที่ช่วยให้สภาพจิตใจเกิดความชื่นบานผ่องใสอยู่เป็นประจํา แต่ ผู้ชายทุกคนก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะการเปลี่ยนแปลงของระดับ ฮอร์โมนที่มีผลต่อสมรรถภาพร่างกายและจิตใจในเรื่อง “สมรรถ ภาพทางเพศ” ได้ สภาพการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเกิดขึ้นกับ ผู้ชาย “วัยทอง” ทุกคน
สภาพความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจของผู้ชาย ในวัย 40 ปีขึ้นไป ที่สังเกตได้เช่น การขี้หลงขี้ลืม ขาดความ กระฉับกระเฉง ความสนใจในสิ่งแวดล้อมและโลก ทัศนคติต่อบุคคลและสิ่งต่างๆ รอบตัว และความพยายามในการจะทําสิ่งใหม่ ๆ ลดลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะยิ่งปรากฏมาตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ชายไทยจะรู้สึกถึงการหมดสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผล ให้สภาวะทางด้านจิตใจถดถอยอย่างเห็นได้ชัด ทําให้ผู้ที่มีอาการ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเกิดอาการเมื่อยชาไม่อยากหยอกล้อใกล้ชิดพูดคุยกับคู่ชีวิตของตนเองเหมือนก่อน เพราะมีความรู้สึกว่าตนเองไม่อาจให้ความสุขกับคู่ครองได้ ทําให้เกิดความวิตกกังวล เศร้าซึม และอาการทางด้านร่างกายอื่น ๆ เช่น ความเครียด นอนไม่หลับ เป็นโรคกระเพาะอาหาร และความดันโลหิตสูง รวมทั้ง โรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา
เมื่อรู้ตัวว่าเกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และไม่ สามารถทนต่อภาวะความกดดันที่เกิดขึ้นได้ ท่านควรหาวิธีการ แก้ไขหรือเสี่ยงต่อสภาพปัญหาเหล่านั้น โดยการลดความเสี่ยงต่อ สิ่งที่จะทําให้สภาพร่างกายและจิตใจเกิดความถดถอย โดยการหา งานอดิเรกทํา เล่นกีฬาที่เหมาะสมกับวัย หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงและสมาคมต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการเสี่ยงต่อการ ติดโรคติดต่อทางเพศ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น
หากไม่สามารถแก้ภาวะความกดดันที่เกิดขึ้นได้ ควรไป รับคําปรึกษาจากแพทย์ เพื่อขอคําแนะนําถึงวิธีการปฏิบัติที่ถูก ต้อง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่มีหน่วยงานหรือบุคคลใดที่จะช่วย ท่านได้ดีไปกว่าตัวท่านเอง การยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลง ซึ่งย่อมเกิดขึ้นตามกาลเวลา เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
ข้อมูลจาก นพ.นิทัศน์ รายยวา สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
พาที โชคชัยศิริวัฒน์